โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หนังศีรษะ

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

โรคผิวหนังอักเสบ เซบเดิร์ม คืออะไร เป็นแล้วทำยังไงดี

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคผิวหนังอักเสบ ที่มักมีอาการรังแค คันตามหนังศีรษะ ร่องจมูก และตกสะเก็ดเห็นเป็นขุยๆ พบประมาณ 3-5% ของประชากร

สาเหตุของโรคเซบเดิร์ม

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคเซบเดิร์มได้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • ความเครียด
  • เชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
  • สภาพอากาศที่เย็นและแห้ง
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางชนิด หรือการใช้ยาบางชนิด

นอกจากนี้ยังมีโรค หรือปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ที่มีผลต่อการเกิดโรคเซบเดิร์มมากขึ้น ได้แก่

  • โรคพาร์กินสัน และภาวะซึมเศร้า
  • ผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ เช่น ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น
  • โรคตับอ่อนอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง หรือการติดสุรา
  • โรคเบาหวาน
  • โรคลมชัก
  • โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย โรคสะเก็ดเงิน
  • สิว
  • การเกา ครูดข่วน หรือการได้รับบาดเจ็บของผิวหน้า

อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการเกิดโรคเซบเดิมไม่ได้มาจากการไม่รักษาความสะอาด หรือภาวะภูมิแพ้แต่อย่างใด

โรคเซบเดิร์ม พบบ่อยในช่วงวัยไหน

โรคเซบเดิร์ม มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบได้บ่อยในช่วง 2 วัย คือ

  • เด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน
  • ผู้ใหญ่ในช่วงอายุ 40-70 ปี

อาการของโรคเซบเดิร์ม

อาการของโรคเซบเดิร์มมีได้ตั้งแต่เป็นน้อยๆ เช่น รังแค ไปจนถึงอาการรุนแรงที่มีผื่นผิวหนังอักเสบทั่วตัว โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

อาการของโรคเซบเดิร์มที่หน้าผาก คิ้ว และร่องจมูก

อาการของโรคเซบเดิร์มในเด็กเล็ก

ในทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือน มักจะมาพบแพทย์ ด้วยอาการเกล็ดสีเหลืองหรือน้ำตาลบนหนังศีรษะ มีผื่นแดงเป็นขุยที่ใบหน้า โรคนี้มักจะหายไปก่อนอายุครบ 1 ปี แต่อาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกครั้งในช่วงวัยรุ่น ทั้งนี้โรคเซบเดิมในเด็กอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผื่นผ้าอ้อม หรือผื่นแพ้ต่างๆ

อาการของโรคเซบเดิร์มในผู้ใหญ่

สามารถแบ่งอาการของโรคเซบเดิร์ม ตามอวัยวะต่างๆ ได้ดังนี้

  1. หนังศีรษะ มักมาด้วยอาการคัน มีผื่นแดงได้บ้าง มีสะเก็ดเป็นรังแคหนา หรือสะเก็ดสีเหลืองๆ ซึ่งผื่นแดงมีสะเก็ดพบได้บ่อยบริเวณไรผม แต่มักจะไม่ลามเกินไปกว่าไรผม ต่างจากโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นแดงหนารวมถึงสะเก็ด สามารถลามเกินไรผมออกมาที่บริเวณหน้าผากและหนังศีรษะส่วนอื่นได้
  2. ใบหู บริเวณหลังใบหู มักพบเป็น ผื่นแดง คัน ภายในรูหูด้านนอก และด้านหลังใบหู ผื่นแดงมักมีลักษณะเป็นสะเก็ดมันๆสีเหลือง
  3. ใบหน้าและลำตัว มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่หนาแน่น คือ หัวคิ้ว ระหว่างคิ้วทั้ง 2 ข้าง ซอกจมูก อก ไหล่ ลำตัวส่วนบน ซึ่งจะพบเป็นลักษณะผื่นแดง ขอบชัด มีสะเก็ดเป็นมันๆสีออกเหลือง
  4. บริเวณอื่นๆ บริเวณอื่นที่สามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยนัก เช่น สะดือ รักแร้ และขาหนีบ เป็นต้น

ทั้งนี้อาการของโรคมักจะพบเป็นๆหายๆ ขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว

ผื่นของเซบเดิร์มบริเวณไรผม โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

ผื่นของเซบเดิร์มบริเวณไรผม

การวินิจฉัยโรคเซบเดิร์ม

โดยทั่วไปแพทย์จะใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกายดูลักษณะของผื่นผิวหนัง นอกจากนี้ยังอาจมีการขูดเอาตัวอย่างเซลล์ผิวหนังบริเวณดังกล่าว ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากโรคชนิดอื่นที่อาจมีอาการคล้ายกันได้ เช่น

  • โรคสะเก็ดเงิน มักทำให้เกิดรังแคและผิวหนังแดง ปกคลุมด้วยสะเก็ดเล็กๆได้เช่นกัน แต่โรคนี้จะมีความรุนแรงมากกว่า โดยจะมีผื่นแดงเป็นวงกว้างกว่า เกิดสะเก็ดได้มากกว่า และสะเก็ดมักจะมีสีขาวออกเงิน
  • โรคผื่นผิวหนังอักเสบ โรคที่จะทำให้เกิดอาการผื่นแดง คัน และอักเสบของผิวหนังได้เช่นกัน มักเกิดบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา หรือที่ด้านหน้าของลำคอ
  • โรคโรซาเซีย โรคผิวหนังอักเสบชนิดนี้ โดยมากจะเกิดขึ้นบนใบหน้า และปรากฏเป็นสะเก็ดเล็กๆ

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis รักษายังไง

การรักษาโรคเซบเดิร์ม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาด โรคนี้หลังการรักษาสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ส่วนความถี่ในการกลับมาเป็นซ้ำขึ้นกับหลายๆปัจจัยประกอบกัน ยาที่มีการใช้ในปัจจุบันได้แก่

  1. กลุ่มยาสระผม เช่น แชมพูที่มีส่วนผสมของ Selenium sulfide, Ketoconazole Shampoo, Tar Shampoo, และ Zinc ยาสระผมในกลุ่มนี้ ใช้รักษาอาการเซบเดิร์มที่หนังศีรษะ
  2. ยาทาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ใช้เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง ยาในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายตัว การเลือกใช้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และผิวหนังบริเวณที่ทายา สามารถใช้ทาได้ทั้งที่ใบหน้า และหนังศีรษะ
  3. ครีมบำรุงผิว หากมีผิวแห้งสามารถใช้ครีมบำรุงผิว Mineral oil และพวกมอสเจอไรเซอร์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นได้
  4. ยาทาลดการอักเสบกลุ่มอื่นๆที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาทาในกลุ่ม Calcineurin inhibitor ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวหนัง สามารถใช้ทดแทนยาทาเสตียรอยด์ เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาทาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ

รักษา โรคเซบเดิร์ม โคราช บุรีรัมย์ แอลซีคลินิก

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

นอกจากนี้ยังมีการใช้ยารับประทาน สำหรับผู้ป่วยเซบเดิร์มที่มีอาการรุนแรง โดยการใช้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ตัวอย่างยาที่มีการใช้ ได้แก่

  1. ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน ยาในกลุ่มนี้มีการใช้พบว่าได้ผลดีในเซบเดิร์ม ขนาดของยา และระยะเวลาการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของยา ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง ได้แก่ ภาวะตับอักเสบ จึงควรงดดื่มสุราระหว่างที่ทานยากลุ่มนี้
  2. ยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ ยาในกลุ่มนี้ช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน  ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปากแห้ง ผิวแห้ง และหญิงวัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องได้รับการคุมกำเนิดระหว่างใช้ยา และหลังหยุดยา 1 เดือนอย่างเคร่งครัด
  3. การรักษาโดยการฉายแสง เช่น การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Narrow band ultraviolet B)

การดูแลตัวเอง สำหรับผู้ป่วยโรคเซบเดิร์ม

  1. รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นอยู่เสมอ โดยการล้างด้วยสบู่อ่อนๆและน้ำเปล่า
  2. ทำความสะอาดร่างกาย และหนังศีรษะเป็นประจำ
  3. ใช้ครีมบำรุงและผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
  4. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคือง และผื่นเป็นมากขึ้นได้
  5. โกนหนวดเคราให้สะอาด เนื่องจากหนวดและเคราจะยิ่งทำให้ผิวหนังบริเวณที่เป็นเซบเดิมแย่ลงได้
  6. สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อเรียบลื่น เพื่อป้องกันการระคายเคือง
  7. เลี่ยงการขีดข่วน หรือการเกาซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิว และติดเชื้อตามมาได้ หากมีอาการคัน สามารถใช้ครีมสเตียรอยด์ชนิดอ่อนๆ ทาบรรเทาอาการคันได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเซบเดิร์ม

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคเซบเดิร์มนั้นพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการวินิจฉัยคลาดเคลื่อน หรือการรักษาที่ไม่ถูกวิธี โรคเซบเดิร์มที่เกิดบริเวณใบหน้า และหนังศีรษะบางครั้งอาจคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งหากรักษาโดยใช้ยาลดการอักเสบ หรือยาทาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้มีอาการแย่ลงได้ นอกจากนี้การใช้ยาทาสเตียรอยด์นี้ในปริมาณมาก และเป็นเวลานานๆ ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ และทำให้ผิวบางลงได้

การป้องกันโรคเซบเดิร์ม

โรคเซบเดิร์มนั้นไม่อาจป้องกันการเกิดของโรคได้ โดยตัวโรคมักจะมีลักษณะเป็นๆหายๆ ตามปัจจัยที่มากระตุ้น แต่มีวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคซ้ำ หรือบรรเทาอาการของโรคได้ โดยการปฏิบัติดังนี้ หลังจากอาการของโรคหายดีแล้ว

  • โรคเซบเดิร์มบริเวณหนังศีรษะ การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกสามารถใช้แชมพูต้านเชื้อรา หรือทาร์แชมพู 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ หมักทิ้งไว้บนหนังศีรษะ 5 นาทีก่อนจะล้างออก
  • เซบเดิมตามร่างกาย ควรหมั่นทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำเปล่าเป็นประจำทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดคราบมันบนผิวหนัง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการกระตุ้นโรคเซบเดิร์ม และช่วยลดจำนวนของเชื้อราบนผิวหนัง ทั้งนี้สามารถพูดคุยสอบถามแพทย์ถึงวิธีการป้องกันที่เหมาะสมกับตนเองเพิ่มเติมได้

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

แพทย์ด้านผิวหนัง

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  1. โรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก
  2. โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร สาเหตุ อาการ และการดูแลตัวเอง
  3. โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ และการรักษา
  4. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  5. โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Lichen Simplex Chronicus คืออะไร อาการ การรักษา
  6. โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี
  7. รักษาสะเก็ดเงิน ทำยังไง ยากิน ยาทา ฉายแสงอาทิตย์เทียม
  8. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  9. โรคตุ่มนูนคันเรื้อรัง (Prurigo nodularis) คืออะไร รักษายังไงดี
  10. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ
  11. โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา
  12. ผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis) รักษายังไงดี
  13. รอยดำหลังการอักเสบ (PIH) เกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆

บทความโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ

บทความโรคผิวหนัง ความงาม และศัลยกรรมความงาม


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคเซบเดิร์ม Seborrheic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ ผมร่วง ผมบาง โรคหนังศีรษะ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , , .