ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบ หรือEczema คือ ภาวะการอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้น เป็นได้จากหลายสาเหตุ มักมาด้วยอาการผื่นคัน บวม หรือแดงตามผิวหนัง แต่ในบางรายอาจเกิดเป็นแผลพุพอง มีน้ำหนอง หรือตกสะเก็ดร่วมด้วย โดยภาวะผิวหนังอักเสบที่พบบ่อย ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซบเดิร์ม และโรคผื่นแพ้สัมผัส อย่างไรก็ตามภาวะนี้จะไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น แต่อาจทำให้รู้สึกคันหรือระคายเคือง และเสียความมั่นใจเพราะลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

ตรวจ รักษา โรคผิวหนัง แอลซีคลินิก

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคเซบเดิร์ม, และโรคผื่นแพ้สัมผัส เป็นต้น โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม (พบโรคกลุ่มนี้ได้สูงขึ้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกลุ่มนี้), อาหาร, และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยแบ่งแยกปัจจัยเสี่ยงตามแต่ละโรคได้ดังนี้

1.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

โรคผิวหนังอักเสบชนิดนี้ ในปัจจุบันคาดว่ามีปัจจัยการเกิดหลายอย่างร่วมกัน เช่น ผิวแห้ง พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียบนผิวหนัง และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2.โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis)

โรคผื่นแพ้สัมผัส เกิดการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารก่อความระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น โลหะบางชนิด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำหอม ยาย้อมผม เครื่องสำอาง หรือครีมบำรุงผิวต่างๆ รวมถึงการทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล ของหมักดอง เป็นต้น

3.โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลายๆปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น เช่น การติดเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่ตามน้ำมันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบนหนังศีรษะและใบหน้า การทานอาหาร และฤดูกาล เป็นต้น

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ

โรคเซบเดิร์ม คืออะไร เป็นแล้วทำยังไงดี

4.โรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีโรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่นๆอีก เช่น โรคผิวหนังอักเสบแบบวงกลม (Nummular Eczema), โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Lichen Simplex Chronicus), โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrotic Eczema), และโรคผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า (Stasis Dermatitis) เป็นต้น ซึ่งก็มีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

อาการของโรคผิวหนังอักเสบ

อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบ จะมีความแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละราย ขึ้นกับระยะของโรค และชนิดของโรคผื่นผิวหนังอักเสบ โดยแบ่งออกคร่าวๆได้ดังนี้

1.อาการผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลัน (Acute Eczema)

ในระยะเฉียบพลันนี้ ที่ผื่นพึ่งขึ้นใหม่ๆ ผิวหนังจะมีลักษณะของการอักเสบ คือ จะมีผื่นแดง คัน ผิวบริเวณผื่นจะบวม และมีตุ่มน้ำใสเล็กๆเกิดขึ้น

2.อาการผิวหนังอักเสบระยะกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Eczema)

ในระยะนี้ ผื่นผิวหนังจะเป็นมาสักระยะแล้ว เริ่มเห็นน้ำเหลืองชัดเจนออกมาจากผื่น จากนั้นน้ำเหลืองที่เยิ้มจากผื่นจะค่อยๆลดลง ผื่นแห้งขึ้น มีลักษณะเป็นผื่นตกสะเก็ด แต่ยังมีอาการคันอยู่เหมือนเดิม

3.อาการผิวหนังอักเสบระยะเรื้อรัง (Chronic Eczema)

ในระยะนี้ จะเริ่มจากการที่ผื่นผิวหนังอักเสบเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆหรือเรื้อรัง รวมกับมีการเกาซ้ำไปซ้ำมาจากอาการคัน ผื่นที่พบจะกลายเป็นผื่นหนา แห้ง แข็ง เห็นลายเส้นของผิวหนังชัด และมีสีของผิวหนังคล้ำขึ้น

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

อาการของ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบ

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบได้โดยใช้การซักประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะผื่นผิวหนังของคนไข้ แต่บางครั้งถ้าผื่นมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน หรือแพทย์มีการสงสัยโรคอื่นร่วมด้วย จะทำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อแยกสาเหตุจากโรคผิวหนังชนิดอื่นออกไป

นอกจากนี้หากแพทย์สงสัยว่า โรคผิวหนังอักเสบนี้มีสาเหตุมาจากผื่นแพ้สัมผัสร่วมด้วย คนไข้อาจได้รับการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพื่อดูว่าอาการแพ้นั้นเกิดจากสารก่อความระคายเคือง หรือสารกระตุ้นการแพ้ชนิดใด ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นเด็กส่วนใหญ่อาจมีแนวโน้มต้องรับการทดสอบภูมิแพ้ โดยการตรวจจะเป็นการตรวจเฉพาะทางโรคผิวหนังที่เรียกว่า “Patch test” เพื่อดูว่าสิ่งใด/สารใดเป็นสาเหตุให้ผิวหนังเกิดการแพ้

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

รักษา โรคผิวหนังอักเสบ แอลซีคลินิก

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบ

การใช้ยารักษาโรคผิวหนังอักเสบ ในทางการแพทย์

กลุ่มยาทาหรือครีมทารักษาโรคผิวหนังอักเสบ

  • ยาทากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาทาในกลุ่มนี้มีทั้งชนิดครีม โลชั่น และแบบขี้ผึ้ง โดยยาทากลุ่มนี้จะช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการแพ้ และอาการคันได้ มีด้วยกันหลายชนิด ตั้งแต่ความแรงน้อยไปจนถึงแรงมากให้เลือกใช้
  • ยาทาชนิดกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Calcineurin Inhibitor) ยาทาในกลุ่มนี้มีทั้งในรูปแบบของครีมและขี้ผึ้ง โดยเป็นยาที่ช่วยรับมือกับการอักเสบของผิวหนัง และลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการคันและแดงบนผิวหนัง แต่ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
  • ครีมทามอยซ์เจอร์ไรเซอร์ชนิดเข้มข้น แพทย์อาจสั่งจ่ายมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ชนิดพิเศษ เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงผิวเป็นพิเศษ
  • กลุ่มน้ำมันทาผิว Mineral oil ช่วยลดการสูญเสียน้ำของผิวหนัง และทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้น

กลุ่มยารับประทานรักษาโรคผิวหนังอักเสบ

  • ยาแก้แพ้ ส่วนใหญ่เป็นยาในกลุ่ม Antihistamine เช่น คลอเฟนิรามีน หรือCPM ยาในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายตัว แต่ละตัวก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันบ้าง ช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการคัน มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงซึมได้
  • ยารับประทานกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาทานในกลุ่มนี้จะใช้ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง บรรเทาอาการบวมและคัน โดยยาในกลุ่มนี้จะสั่งจ่ายได้โดยดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
  • ยาฆ่าเชื้อ ในบางครั้งจะมีการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย ในรายที่สงสัยว่ามีภาวะติดเชื้อที่ผิวหนังร่วมด้วย เช่น ในคนไข้ที่เกาจนเกิดแผลติดเชื้อ

การรักษากลุ่มอื่นๆ

  • การฉายแสงอาทิตย์เทียม เป็นการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบี ชนิดคลื่นแคบ (Narrow band UVB) ช่วยรักษาผื่นผิวหนังอักเสบ มักใช้ในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรค หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น

การดูแลตัวเองสำหรับโรคผิวหนังอักเสบ

การดูแลตัวเองของโรคในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นที่การป้องกันและบรรเทาอาการคันให้ลดน้อยลง เนื่องจากภาวะผิวหนังอักเสบนั้นส่งผลให้ผิวแห้งและคัน เมื่อเกามาก ๆ จึงเกิดเป็นแผล และนำไปสู่การติดเชื้อที่ผิวหนังในที่สุด โดยการดูแลตัวเองที่ใช้ในโรคผิวหนังอักเสบ ได้แก่

  1. หลีกเลี่ยงการถูหรือเกาบริเวณผื่นและผิวหนังที่มีอาการคัน ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถปกปิดบริเวณที่คัน เพื่อป้องกันการเกิดรอยถลอกจากการเกาอย่างแรง รวมทั้งควรตัดเล็บ หรือสวมถุงมือขณะนอน
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย เพราะพื้นผิวที่เรียบนุ่มของผ้าฝ้ายจะช่วยป้องกันการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณที่อักเสบ
  3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่อ่อนโยนและไม่มีกลิ่น เพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคผิวหนังอักเสบ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสบู่และน้ำยาซักล้างใดๆที่รุนแรง ซึ่งอาจก่อความระคายเคืองต่อผิวหนัง
  4. เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวเป็นประจำด้วยมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ที่เป็นเนื้อครีมหรือขี้ผึ้ง เพื่อสร้างชั้นปกป้องการสูญเสียความชุ่มชื้น ช่วยลดอาการผิวแห้ง ลดความรุนแรงของอาการผื่นแพ้ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงยังอาจใช้การทามอยซ์เจอร์ไรเซอร์เป็นการรักษาหลักได้
  5. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคผื่นแพ้สัมผัส ควรปกป้องผิวหนังของตนเองจากการสัมผัสสารที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นพิเศษ
  6. ลดความเครียด เช่น หากิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย การออกกำลังกาย เพราะความเครียดอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดผิวหนังอักเสบบางชนิด
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการนอนดึก

ผลข้างเคียงจากโรคผิวหนังอักเสบ

เนื่องจากผื่นของโรคผิวหนังอักเสบมักมีอาการคันมาก การเกาผื่นมากๆและรุนแรง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนังได้

วิธีป้องกันโรคผิวหนังอักเสบ

การป้องกันโรคผื่นผิวหนังอักเสบ สามารถทำได้โดย

  • เลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมีต่างๆ, ถุงมือยาง, ฝุ่นปูน เป็นต้น
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชนิดอ่อนโยน เพื่อลดโอกาสเกิดผื่นผิวหนังอักเสบที่มีสาเหตุจากแพ้สารสัมผัส
  • บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นด้วยครีมที่ให้ความชุ่มชื้น (Moisturizer) เป็นประจำเพื่อลดโอกาสเกิดการระคายเคืองของผิว
  • สังเกตการใช้ชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงานว่า มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น หรือก่อการระคายเคืองต่อผิว (รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม) เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น
  • ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของผื่นผิวหนังอักเสบให้ดี

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  1. โรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก
  2. โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Lichen Simplex Chronicus คืออะไร อาการ การรักษา
  3. โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี
  4. โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร สาเหตุ อาการ และการดูแลตัวเอง
  5. รักษาสะเก็ดเงิน ทำยังไง ยากิน ยาทา ฉายแสงอาทิตย์เทียม
  6. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  7. โรคตุ่มนูนคันเรื้อรัง (Prurigo nodularis) คืออะไร รักษายังไงดี
  8. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ
  9. โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา
  10. ผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis) รักษายังไงดี
  11. รอยดำหลังการอักเสบ (PIH) เกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  12. โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ และการรักษา

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

ผิวหนังอักเสบ Eczema คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , , , , .