โรคตุ่มน้ำใสที่มือ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี

โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrosis)

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) เกิดจากอะไร รักษายังไงดี

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrosis)

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส หรือโรคตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง มีเรียกด้วยกันหลายชื่อ ได้แก่ Dyshidrosis, Dyshidrotic Eczema, Pompholyx เป็นต้น

โรคตุ่มน้ำใส คือโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง มักมาด้วยอาการเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ ขึ้นที่บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า อาจทำให้เกิดอาการปวดและคันรุนแรงได้

อาการของโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส

  • อาการจะเริ่มจากเป็นผื่นแดง จากนั้นจะเกิดตุ่มน้ำใสขนาดเล็กขึ้นเป็นกลุ่ม
  • มักขึ้นตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือและข้างนิ้วมือ หรืออาจเกิดที่เท้าและนิ้วเท้าก็ได้แต่พบน้อยกว่า
  • อาจมีอาการคัน แสบร้อน และปวดบริเวณที่เป็นร่วมด้วยได้
  • หากเกาที่ผื่นแรงๆ ตุ่มน้ำใสอาจจะแตกออก และมีของเหลวไหลออกมา
  • เมื่อแผลเริ่มแห้งจะกลายเป็นแผ่นแข็งลอกเป็นสะเก็ดได้

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบชนิดนี้ (Dyshidrotic Eczema) ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นขึ้นได้ดังนี้

  1. การเจ็บป่วยต่างๆ เช่น เป็นโรคภูมิแพ้, โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, การเจ็บป่วยไม่สบายต่างๆที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
  2. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ
  3. การไปสัมผัสกับสารที่ก่อการระคายเคืองหรือการแพ้ เช่น ผงซักฟอก, น้ำยาล้างจาน, น้ำยาทำความสะอาด, ไปจนถึงปูนซีเมนต์ โคบอลต์ และโลหะนิกเกิล โครเมี่ยม เป็นต้น
  4. การติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยอาจเกิดผื่นขึ้นบริเวณมือที่ติดเชื้อรา หรือเกิดผื่นที่มือแต่ติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณอื่นก็ได้
  5. การสัมผัสกับน้ำหรือความอับชื้นเป็นเวลานาน
  6. ความเครียด การพักผ่อนน้อย
  7. ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ติดเชื้อ HIV

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส

โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคตุ่มน้ำใสนี้ได้ จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายดูลักษณะของผื่นที่มือและเท้า แต่ถ้าแพทย์มีการสงสัยโรคอื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือภาวะแพ้สารบางชนิด อาจจะมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส รักษายังไง

โรคนี้ในปัจจุบันมีการรักษาร่วมกันได้หลายวิธี ทั้งยากิน ยาทา และการฉายแสง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.กลุ่มยากิน

ยากินที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ มีตั้งแต่การรับประทานยาแก้แพ้เพื่อช่วยลดอาการแพ้และอาการคันในรายที่เป็นไม่มาก ส่วนในรายที่เป็นมากแพทย์อาจพิจารณาให้ยากินสเตียรอยด์ หรือยากดภูมิบางชนิดร่วมด้วยได้

ยากินฆ่าเชื้อ ใช้ในกรณีที่สงสัยมีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น การให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น เป็นตุ่มหนอง ปวดบวมแดงที่ผื่น และการให้ยาฆ่าเชื้อรา ใช้ในกรณีที่สงสัยหรือตรวจพบมีการติดเชื้อราแทรกซ้อน

2.กลุ่มยาทา

ยาทาที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ ได้แก่ ครีมทาบำรุงผิว (Moisturizer), ครีมที่มีส่วนผสมของยาทาสเตียรอยด์ มีใช้ตั้งแต่ครีมสเตียรอยด์ความแรงต่ำไปจนถึงความแรงสูง, ครีมทาที่มีส่วนผสมของยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitor เป็นต้น

3.การฉายแสง

การฉายแสงอาทิตย์เทียมในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ จะใช้ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากินและยาทา โดยการฉายแสงอาทิตย์เทียมควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผิวหนัง

เมื่อไหร่ผื่นโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำจะหาย

อาการตุ่มน้ำใสและผิวลอกนี้ จะเป็นๆหายๆได้เรื่อยๆ อาจเป็นนานหลายเดือนหรือเป็นปี โดยที่จะถูกกระตุ้นเป็นช่วงๆ ถ้ามีปัจจัยมากระตุ้นผื่นช่วงนั้นพอดี การรักษาจะเป็นการใช้ยากินยาทาเป็นหลัก ร่วมกับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ ซึ่งใช้เวลานานเป็นเดือนหรือหลายเดือน ผื่นจะค่อยๆดีขึ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็นร่วมด้วย

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคตุ่มน้ำใสที่มือ

  • ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดเหงื่อมากเกินไป
  • ควรล้างมือด้วยน้ำเปล่า และอย่าล้างมือบ่อยเกินไป โดยเฉพาะการล้างด้วยสบู่
  • ควรทาครีมบำรุงผิวหลังล้างมือทุกครั้ง
  • ระวังอย่าให้มือและเท้าแห้งเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี โลหะ หรือเครื่องประดับจิวเวอรี่
  • อาบน้ำด้วยสบู่เหลวอ่อนๆ และล้างสบู่ออกให้สะอาด
  • ไม่ควรอาบน้ำอุ่น ควรอาบน้ำที่อุณหภูมิกลางๆไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  • พยายามไม่ให้เท้าอับชื้นเกินไป
  • ถ้าหากจำเป็นต้องสัมผัสกับสารเคมีอาจจะใส่ถุงมือป้องกัน (แต่ไม่ควรใช้ถุงมือยาง)
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกและไม่เครียด

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในโรคตุ่มน้ำใสที่มือ

  • การติดเชื้อแทรกซ้อนจากตุ่มน้ำที่แตกออก พบได้ทั้งตุ่มหนองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ผิวหนัง
  • การเกิดผื่นแพ้สัมผัส หรือผื่นแพ้จากการระคายเคือง เนื่องจากมีแผลเปิดที่ผิวหนังจากผิวหนังอักเสบ ทำให้เกิดการแพ้และการระคายเคืองได้มากขึ้น

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านโรคผิวหนังอักเสบ

  1. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  2. โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Lichen Simplex Chronicus คืออะไร อาการ การรักษา
  3. โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร สาเหตุ อาการ และการดูแลตัวเอง
  4. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  5. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ
  6. โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ โรคผิวหนัง.