กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง (Tinea)

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา

กลาก เกลื้อน เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร

โรคกลาก คือ การติดเชื้อราที่บริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นเป็นวงแดง คัน และมีขุยที่ผิวหนัง สำหรับชาวตะวันตกบางครั้งอาจเรียกโรคนี้ว่า Ring worm ซึ่งเรียกตามลักษณะของผื่นคือเป็นผื่นวงแหวนสีแดง ตรงกลางผื่นจะไม่มีขุย ส่วนขอบผื่นจะเป็นขุย ขนาดของผื่นพบได้ตั้งแต่ผื่นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่

อาการแสดงของโรคกลาก (เชื้อราที่ผิวหนัง)

อาการแสดงของโรคกลาก สามารถพบได้หลากหลายแบบ โดยแบ่งคร่าวๆได้ตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อรา ดังนี้

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ  การรักษา

รักษา เชื้อราที่ศีรษะ แอลซีคลินิก

1. กลากที่หนังศีรษะ (Tinea Capitis)

เป็นโรคกลากที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะช่วงวัยใกล้โตหรือวัยรุ่น อาการที่พบบ่อยคือ หนังศีรษะมีแผลตกสะเก็ดเป็นจุดเล็กๆ เจ็บเมื่อสัมผัส มีผมร่วงเป็นหย่อมๆ และคันที่หนังศีรษะ ส่วนในรายที่อาการรุนแรงอาจมีตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศีรษะ มีสะเก็ดแห้ง และผมร่วงจนศีรษะล้านเป็นหย่อมๆ แต่หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้เจ็บ และพุพองเป็นแผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าชันนะตุ มีหนองไหล และตามมาด้วยเป็นไข้และต่อมน้ำเหลืองโต

2. กลากที่ลำตัว (Tinea Corporis)

โรคกลากที่ลำตัว พบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย มักทำให้เกิดผื่นแดง คัน และระคายเคืองรอบวงกลาก วงของกลากมักปรากฏเป็นขอบชัดเจน และแดงกว่าบริเวณผิวหนังปกติ แต่ตรงกลางของวงจะปรากฏในลักษณะผิวหนังสีปกติ ในกรณีที่รุนแรง กลากชนิดนี้อาจมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือรวมกันเป็นวงใหญ่ เป็นรอยนูนขึ้นมา และคันใต้ผิวหนัง โดยที่อาจมีตุ่มพองหรือตุ่มหนองเกิดขึ้นรอบวงร่วมด้วยได้

3. กลากที่ขาหนีบ หรือสังขัง (Tinea Cruris)

โรคกลากที่ขาหนีบ พบได้บ่อยในเพศชาย โดยเฉพาะวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ ผื่นมักมีสีน้ำตาลแดง อาจมีอาการเจ็บ เกิดตุ่มพองหรือเป็นตุ่มหนองรอบๆวงกลากได้ มีอาการคันและแดง และอาจมีผิวหนังเป็นแผ่นตกสะเก็ด รอบบริเวณขาหนีบ เช่น ต้นขาด้านในและก้น นอกจากนี้ยังอาจขยายไปสู่ต้นขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง กลากบริเวณนี้มักเกิดขึ้นได้จากความอับชื้น การมีเหงื่อ อากาศที่ร้อนชื้น หรือการเสียดสีจากเสื้อผ้าที่รัดจนเกินไป

4. กลากที่ใบหน้าและลำคอ (Tinea Faciei)

โรคกลากชนิดนี้ อาจไม่ปรากฏเป็นวงคล้ายวงแหวนอย่างกลากชนิดอื่นๆ แต่จะยังมีอาการคัน บวม แดง และแห้งจนเป็นสะเก็ดได้ ซึ่งหากเกิดที่บริเวณหนวดอาจทำให้หนวดหลุดร่วงเป็นหย่อมๆได้

5. กลากที่มือ (Tinea Manuum)

โรคกลากที่มือ ทำให้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ และง่ามนิ้วมือหนาขึ้น โดยอาจเป็นข้างเดียวหรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันได้ แต่ส่วนใหญ่มักพบแค่ข้างเดียว

6. กลากที่เท้า หรือเชื้อราที่เท้า (Tinea Pedis)

โรคกลากที่เท้า มักรู้จักกันในชื่อน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่พบได้บ่อยมาก การติดเชื้อราที่เท้าอาจทำให้เกิดผื่นแห้ง แดง คัน เห็นเป็นแผ่นบริเวณง่ามนิ้วเท้า โดยเฉพาะนิ้วนางและนิ้วก้อย หรือในระดับที่รุนแรงอาจมีอาการผิวหนังแห้งแตก เป็นตุ่มพอง เป็นขุยสะเก็ด ผิวหนังบวม แสบ หรือเจ็บๆ คันๆ ที่ผิวหนัง และอาจมีผิวหนังแห้งเป็นขุยรอบ ๆ ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วเท้า และข้างเท้า

สาเหตุของโรคกลาก (เชื้อราที่ผิวหนัง)

โรคกลาก เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่บนชั้นเนื้อเยื่อโปรตีนเคราตินบนผิวหนังที่ตายแล้ว ซึ่งได้แก่ ผิวหนังชั้นบนสุดของผิวหนังชั้นนอกหรือชั้นหนังกำพร้า เล็บ เส้นผม และหนังศีรษะ จากนั้นเชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดโรคกลากตามมา

เชื้อราเหล่านี้จะมีสปอร์เล็กๆ ที่มีความคงทนและสามารถอยู่รอดบนผิวหนังของมนุษย์ สัตว์ ในพื้นดิน หรือตามสิ่งของต่างๆ ได้เป็นเวลาหลายเดือน และยังเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างเช่นในประเทศไทย จึงเกิดการแพร่กระจายได้ง่าย โดยสามารถติดจากคนและสัตว์ด้วยการสัมผัส การจับสิ่งของที่มักมีเชื้อรานี้เกาะอยู่ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หวี และแปรงสีฟัน หรือติดจากดินในกรณีที่ต้องทำงานหรือยืนเท้าเปล่าบนพื้นดินที่มีเชื้อรา

บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราได้ง่าย

  • เด็กอ่อนหรือผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่ได้รับยาที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น การทำเคมีบำบัด หรือใช้ยาสเตียรอยด์
  • ผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อรามาก่อน หรือติดเชื้อราบ่อยๆ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • ผู้ป่วยที่มีการหมุนเวียนของเลือดไม่ดี โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องที่หลอดเลือดดำขา ซึ่งจะมีปัญหาในการพาเลือดกลับไปยังหัวใจ

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

รักษา โรคกลาก เชื้อราที่ขา แอลซีคลินิก

การวินิจฉัยโรคกลาก (เชื้อราที่ผิวหนัง)

การวินิจฉัยการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หรือโรคกลาก แพทย์จะทำการตรวจโดยดูลักษณะของผื่น และตำแหน่งที่เกิดผื่นที่ผิวหนัง หรืออาจใช้แสงพิเศษส่องดูผิว โดยแสงนี้จะทำให้ผิวบริเวณที่ติดเชื้อราปรากฏเป็นสีเรืองแสงขึ้นมาได้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยอาจขูดเอาตัวอย่างผิวบริเวณที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อรา แล้วส่งไปที่ห้องแล็บเพื่อตรวจหาเชื้อรา โดยใช้การย้อม KOH และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อจะได้ทราบว่าเกิดจากเชื้อราชนิดใด และสามารถจ่ายยาที่เหมาะสมในการรักษา

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง รักษายังไง

แนวทางการรักษาโรคกลาก จะมีทั้งการใช้ยากิน ยาฟอก และยาทา เพื่อรักษาเชื้อรา ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายชนิด ได้แก่

1. ยาทารักษาเชื้อรา 

มีทั้งในรูปแบบครีม โลชัน แป้ง หรือสเปรย์ (Spray) โดยยาทารักษาเชื้อรา จะใช้ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยโรคกลากที่ลำตัว ขาหนีบ เท้า มือ เครา และลำคอ แต่ถ้าเป็นโรคกลากที่เล็บ และศีรษะ ยาทาจะใช้ไม่ค่อยได้ผล (หรือต้องใช้เป็นชนิดพิเศษ) โรคกลากที่ลำตัวและขาหนีบจะใช้เวลารักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนโรคกลากที่มือหรือเท้าจะใช้เวลารักษานานกว่านั้นมาก คือประมาณ 8 สัปดาห์ขึ้นไป

2. ยากินรักษาเชื้อรา

ยาชนิดรับประทาน จะใช้ในผู้ป่วยโรคกลากที่ศีรษะและเล็บ โดยอาจต้องกินยานานประมาณ 3 – 6 เดือน ผู้ที่เป็นผื่นเชื้อราตามลำตัว ที่กินบริเวณกว้าง อาจเลือกใช้ยาในรูปแบบรับประทานนี้ได้ การใช้ยากินจะต้องระวังเรื่องผลข้างเคียงของยาด้วยเช่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดท้อง ตับอักเสบ และโรคไต

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโรคกลากที่ศีรษะ แม้ไม่มีอาการก็ต้องใช้แชมพูรักษาเชื้อรา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ควรใช้แชมพูรักษาเชื้อรา ควรใช้สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าหนังศีรษะยังเป็นขุยอยู่ ก็ต้องใช้ยากินร่วมด้วย

ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

โรคการติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะโรคกลากเป็นไปได้ยากที่จะแพร่ไปสู่ชั้นใต้ผิวหนัง จึงไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี อาจมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าคนปกติได้

การลุกลามของกลากจากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นๆของร่างกายสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เพียงการสัมผัสกับบริเวณที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจึงไม่ควรเกาที่ผื่น และควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อไปยังส่วนอื่นของผิวหนังเพิ่มเติม

นอกจากนี้หากผู้ป่วยเกาผิวหนังที่ติดเชื้อบ่อยๆ ก็อาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จนทวีความรุนแรงของอาการขึ้น กรณีนี้แพทย์จึงอาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

การป้องกันโรคกลาก

การป้องกันโรคกลาก ได้แก่

  1. ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ถุงเท้า หมวก รอง เท้า
  2. รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นข้อพับและซอกต่างๆของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ซอกนิ้ว โดยการอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด อย่าให้ขี้ไคลหมักหมม และเมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว ซับให้แห้งอย่าปล่อยให้เปียกชื้น
  3. ควรตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นเสมอ รองเท้าแบบหุ้มส้นไม่ควรให้แน่นเกินไป และหมั่นนำรองเท้าออกตากแดดเสมอๆ
  4. ผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ ควรป้องกันผิวหนัง ด้วยถุงมือ รองเท้าบู๊ท หรือเสื้อกันน้ำ เป็นต้น

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณรูปภาพจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

  1. โรคงูสวัด (Herpes Zoster)
  2. โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  3. เริม โรคเริม (HERPES SIMPLEX) คืออะไร อาการ การรักษา
  4. เริมเรื้อรัง เป็นเริมบ่อยมาก (Recurrent Herpes Simplex) รักษายังไง
  5. ผื่นจากแมลงกัด ตุ่มแพ้แมลงกัด (Insect bite reaction)
  6. โรคตุ่มพุพอง (Impetigo) แผลพุพอง คืออะไร อาการ และการรักษา
  7. หูด (Wart) สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคหูดที่ผิวหนัง
  8. การรักษาหูด ที่ผิวหนัง มีวิธีอะไรบ้าง ยาทา จี้เย็น เลเซอร์ และการผ่าตัด
  9. โรคอีสุกอีใส คืออะไร อาการ การรักษา (Chickenpox)
  10. โรคหิด (Scabies) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  11. โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  12. จี้เย็นกำจัดหูด จี้หูด (Cryotherapy) คืออะไร ใช้กำจัดหูดอะไรได้บ้าง
  13. รักษาโรคงูสวัดทำยังไง ยากิน ยาทา วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ ผมร่วง ผมบาง โรคหนังศีรษะ, บทความ โรคผิวหนัง, บทความ โรคเล็บ and tagged , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , .