โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ รักษา

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis)

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ รักษาโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) ที่มือและเท้า

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร

โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปมักจะติดต่อกันผ่านทางการมีเพศสัมพันธุ์ ทำให้เกิดเป็นผื่นหรือแผลที่ผิวหนัง สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงในหลายอวัยวะตามมาได้

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) มีอาการอย่างไร

อาการของโรคซิฟิลิส จะมีการดำเนินโรคเป็นระยะ โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis)

โรคซิฟิลิสระยะนี้จะเกิดแผลขนาดเล็กบริเวณที่ได้รับเชื้อ ในระยะแรกจะเป็นตุ่มเล็กๆ ต่อมาแตกออกเป็นแผล โดยก้นขอบแผลมีลักษณะเรียบและแข็งที่เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มักพบบริเวณอวัยวะเพศและริมฝีปาก และอาจมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบได้ ผื่นมักขึ้นหลังการได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ แต่ก็อาจพบผื่นลักษณะนี้ได้ ในช่วง 10-90 วัน มักไม่มีอาการเจ็บปวด และจะค่อยๆหายไปได้เองภายใน 6 สัปดาห์ แม้ไม่ได้รับการรักษา

2.โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 (Secondary syphilis)

โรคซิฟิลิสระยะนี้ มักเกิดหลังจากที่เป็นแผลซิฟิลิสระยะที่ 1 ประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนานเป็นเวลาหลายเดือนก็ได้ โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 จะเป็นระยะที่เชื้อกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการได้หลายอวัยวะ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่นที่ผิวหนัง

อาการผื่นที่ผิวหนังและเยื่อบุ ที่พบได้ในโรคซิฟิลิสระยะที่ 2 ได้แก่

  • ผื่นที่ผิวหนัง (Skin rash) เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ผื่นที่ผิวหนังที่พบมีได้หลายแบบ เช่น ผื่นแบนราบ ผื่นนูน ตุ่มหนอง และผื่นนูนมีสะเก็ด โดยผื่นที่พบได้บ่อยคือ ผื่นแบนราบร่วมกับผื่นนูน (Maculopapular rash) และผื่นนูนมีสะเก็ดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Papulosquamous rash)
  • ผื่นที่อวัยวะเพศ (Condyloma lata) คือผื่นที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังอับชื้น เช่น รอบๆอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก
  • ผื่นที่เยื่อบุ (Mucous patch) คือผื่นที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุในช่องปากหรืออวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นแผลตื้นๆ และมีเยื่อสีขาวคลุมอยู่
  • ผมร่วง (Alopecia) ลักษณะที่พบได้บ่อย คือมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆกระจายหลายจุด (Moth-eaten alopecia) แต่ก็อาจพบผมร่วงแบบอื่นได้เช่นกัน
โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

ผื่นซิฟิลิส ที่มือและเท้า – LC Clinic

โรคซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis)

โรคซิฟิลิสในระยะแฝงนี้ โดยส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ หลอดเลือด ระบบประสาท และผิวหนังปกติ แต่จะตรวจเจอได้จากการตรวจเลือดด้วยวิธี VDRL หรือ RPR และตรวจยืนยันด้วยวิธี TPHA ซึ่งจะให้ผลเลือดเป็นบวกทั้งคู่

3.โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 (Tertiary syphilis)

โรคซิฟิลิสในระยะนี้ จะเกิดขึ้นหลังจากโรคสงบอยู่ในระยะแฝงนานเป็นปีๆ ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการของโรคในระยะสุดท้ายนี้ โดยอาการที่พบได้บ่อยในซิฟิลิสระยะที่ 3 คือ

  • Benign late syphilis จะพบรอยโรคที่เกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อที่ผิวหนัง เยื่อบุกระดูก และอวัยวะเพศภายใน
  • Neurosyphilis จะพบการติดเชื้อในระบบประสาท โดยตรวจดูได้จากการเจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจ จะพบการเพิ่มของจำนวนเซลล์และโปรตีน หรือผลการตรวจน้ำไขสันหลังด้วยวิธี VDRL หรือ TPHA ให้ผลบวก สามารถมีอาการทางระบบประสาทหรือไม่ก็ได้ จึงควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมาพัลลิดุม (Treponema pallidum) โดยติดต่อกันผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 หรือสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ

การติดต่อของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด และไปยังอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในระยะยาว
  • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน

ระยะฝักตัวของเชื้อซิฟิลิส

ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ  ใช้เวลาประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

การวินิจฉัยโรคซิฟิลิส

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการซักประวัติและตรวจดูลักษณะของผื่นและผมร่วงที่เข้าได้กับโรคนี้ แล้วตรวจเลือดด้วยวิธี VDRL หรือ RPR และตรวจยืนยันด้วยวิธี TPHA ซึ่งจะให้ผลเลือดเป็นบวกทั้งคู่

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) รักษายังไง

โดยทั่วไปการรักษาโรคซิฟิลิส จะเป็นการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาเพนนิซิลินในปริมาณสูง ถึงแม้ว่าอาการของโรคในระยะแรกมักเกิดขึ้นแล้วหายไป และอาการในระยะท้ายมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาให้ถูกวิธีก่อนโรคมีการพัฒนามากขึ้น จนรุนแรงต่อระบบอื่นในร่างกาย ในช่วงระหว่างการรักษา ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค หรือกระตุ้นให้โรคเกิดการกำเริบมากขึ้น และแนะนำให้พาคู่นอนมาตรวจดูด้วยเช่นกัน

การรักษาโรคซิฟิลิส ระยะที่ 1 และ 2

การรักษาโรคซิฟิลิสระยะนี้ แพทย์จะทำการฉีดยา Banzathine penicillin G ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (แต่สำหรับในระยะที่ 2 แพทย์อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา)

การรักษาโรคซิฟิลิส ระยะแฝง และระยะที่ 3

การรักษาโรคซิฟิลิสระยะนี้ แพทย์จะทำการฉีดยา Banzathine penicillin G ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์

การป้องกันโรคซิฟิลิส

แนวทางการป้องกันโรคซิฟิลิสได้ดีที่สุด คือการลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อ โดยเฉพาะการได้รับเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ (ซึ่งเราอาจจะไม่ทราบ) จึงควรมีการป้องกันด้วยการสวมถุงยา ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและทวารหนักด้วย

ส่วนหญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจเลือดคัดกรองโรคซิฟิลิส ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 8-12 ของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการส่งผ่านเชื้อไปยังทารก และหากพบการติดเชื้อจะได้วางแผนการรักษาโรคได้เร็ว

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว (แอลซีคลินิก)

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านโรคผิวหนังอักเสบ

  1. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  2. โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Lichen Simplex Chronicus คืออะไร อาการ การรักษา
  3. โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี
  4. โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร สาเหตุ อาการ และการดูแลตัวเอง
  5. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  6. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ
  7. โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , .