โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease)

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease)

โรคตุ่มน้ำใส ถุงน้ำที่ผิวหนัง (Vesiculobullous) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

โรคตุ่มน้ำพองใส หรือทางการแพทย์เรียกว่า Vesicolullous disease เป็นรอยโรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำ หรือถุงน้ำ มีขนาดแตกต่างกันไป ลักษณะของถุงน้ำมีชื่อเรียกทางการแพทย์แตกต่างกันตามขนาดของรอยโรค เช่น Vesicle (เวสสิเคิล) ใช้เรียกลักษณะของถุงน้ำ ที่มีขนาดน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร, Bulla (บุลล่า) ใช้เรียกลักษณะของถุงน้ำที่มีขนาดมากกว่า 5 มิลลิเมตร ถ้าพบมีหลายตุ่ม เรียกว่า Bullae (บุลเล่)

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกันคือ โรคที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ทำให้เกิดการแยกตัวของชั้นผิวหนัง ซึ่งมักเกิดขึ้นในชั้นหนังกำพร้า หรือบริเวณรอยต่อของหนังกำพร้ากับหนังแท้ ทำให้เกิดเป็นลักษณะตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนัง หรือเยื่อบุผิวต่างๆ เช่น ในช่องปาก เป็นต้น โรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเพมฟิกัส (Pemphigus) และโรคเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid)

สาเหตุของโรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน

โดยส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยมีสาเหตุมากระตุ้นได้แก่ แนวโน้มทางพันธุกรรม, สิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อโรค และสารเคมี เป็นปัจจัยกระตุ้นที่มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกันไม่ใช่โรคติดต่อ

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) มีอาการยังไง

โรคในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายโรค บางชนิดพบบ่อยในวัยเด็ก บางชนิดพบบ่อยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและชาย อาการเด่นคือมีตุ่มน้ำพองใสขนาดต่างๆเกิดขึ้นบนผิวหนัง บางรายอาจเกิดตุ่มน้ำพองใสที่เยื่อบุผิวร่วมด้วยได้ เมื่อตุ่มน้ำแตกออกจะเกิดเป็นแผลหรือรอยถลอกของผิวหนัง ทำให้มีอาการคัน เจ็บ และแสบ ถ้าเกิดตุ่มน้ำพองใสขึ้นและเป็นแผลในปาก จะทำให้เจ็บแสบกลืนอาหารไม่สะดวก บางรายผิวหนังที่ถลอกหรือเป็นแผล อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนองร่วมด้วย ถ้าเป็นรุนแรงโรคในกลุ่มนี้มีโอกาสเสียชีวิตได้

กลุ่มโรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน มีโรคอะไรบ้าง

1.โรคเพมฟิกัส (Pemphigus)

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ทำให้เกิดการแยกตัวของเซลล์ (acantholysis) ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และเยื่อบุ โรคนี้สามารถแบ่งโดยละเอียดได้เพิ่มอีกเป็น 4 ชนิดคือ

  • โรค Pemphigus vulgaris (PV)
  • โรค Pemphigus foliaceus (PF)
  • โรค Paraneoplastic pemphigus
  • โรค IgA Pemphigus

2.โรคเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid)

โรคนี้เป็นโรคภูมิต้านทานต่อตนเองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเกิดตุ่มน้ำใสใต้ชั้นหนังกำพร้า (Subepidermal blister) โรคชนิดนี้จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคในกลุ่มเพมฟิกัส

3.โรค Cicarticial pemphigoid

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีการแยกชั้นของผิวหนังใต้ชั้นหนังกำพร้า รอยโรคจะเด่นที่เยื้อบุ เช่น เยื่อบุในปาก อวัยวะเพศ และเยื่อบุนัยน์ตา เป็นต้น อาจมีรอยโรคที่ผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และมักเกิดแผลเป็นในรอยโรคบางแห่งเสมอ

4.โรค Dermatitis herpetiformis

โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานอีกโรคหนึ่ง มีลักษณะผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใสและตุ่มแดง มีอาการคันมากและเป็นเรื้อรัง พบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และโรคนี้มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของลำไส้ต่อการแพ้กลูเต้น (Gluten-Sensitive Enteropathy) เมื่อได้อาหารที่มีกลูเต้นผื่นที่ผิวหนังจะกำเริบขึ้น แต่ความผิดปกติของลำไส้มักไม่แสดงอาการออกมา

5.โรคกลุ่ม IgA deposit

5.1 โรค Linear IgA dermatosis (LAD)

เป็นโรคตุ่มน้ำใสที่พบได้น้อย มักพบช่วงหลังวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น รอยโรคมีลักษณะตุ่มน้ำใสและตุ่มแดง อาจจะแยกได้ยากจากโรค Dermatitis herpestiformis แต่โรคนี้มักไม่พบความผิดปกติของลำไส้ต่อการแพ้กลูเต้น (Gluten-Sensitive Enteropathy)

5.2 โรค Chronic bullous disease of childhood

เป็นโรคตุ่มน้ำใสที่พบได้น้อยเช่นกัน มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มาด้วยอาการตุ่มน้ำใสขนาดใหญ่ โดยตุ่มน้ำใสมักอยู่บนฐานที่อักเสบเป็นรอยแดง รอยโรคมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า กลุ่มของหยาดเพชร (Cluster of jewels) อาจมีอาการคันและปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วยได้

กาวินิจฉัยกลุ่มโรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน

โรคในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มโรคที่ยากต่อการวินิจฉัยและรักษา ควรได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อดูลักษณะของผื่นตุ่มน้ำพองใสและแผลที่เกิดจากตุ่มน้ำพองใสที่ผิวหนังและเยื่อบุ ร่วมกับการตรวจเลือดและตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

โดยส่วนใหญ่จะใช้การตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อส่งตรวจ โดยจะตัดทั้งหมด 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะย้อมดูลักษณะความผิดปกติของผิวหนังและตำแหน่งที่มีการแยกของเซลล์ในชั้นผิวหนัง ส่วนชิ้นที่สองจะเป็นการตรวจพิเศษทางอิมมูนวิทยาที่เรียกว่า Direct Immunofluorescent เพื่อช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติของภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆที่ทำให้เกิดโรคตุ่มน้ำพองใส

ส่วนการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ จะเป็นการตรวจพิเศษทางอิมมูนวิทยาเช่นกันเรียกว่า Indirect Immunofluorescent โดยการนำซีรั่มของผู้ป่วยมาตรวจหาความผิดปกติของภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆที่ทำให้เกิดโรคตุ่มน้ำพองใส

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin Biopsy) ส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคผิวหนัง โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

การผ่าตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin Biopsy)

แนวทางการรักษาโรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน

  1. การตรวจวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์ หรือแพทย์ผิวหนัง
  2. หากเป็นกลุ่มโรคตุ่มน้ำใส ที่ต้องตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ แพทย์อาจจะพิจารณา ส่งตรวจเลือด หรือตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาร่วมด้วย
  3. การรักษาโดยยา จะมีการใช้ยาทั้งชนิดรับประทาน และยาทาในการรักษา ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น

การดูแลตัวเองในโรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน

การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน ได้แก่

  • รีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
  • สังเกต และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นทั้งหลายที่ทำให้เกิดอาการมากขึ้น เช่น ความร้อน ความเครียด การสัมผัสสารระคายเคืองต่างๆ อาการที่มีส่วนประกอบของกลูเต้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรนอนดึก
  • การให้ความชุ่มชื้นที่ผิวหนัง ด้วยการทา Moisturizer (โลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิว) ที่ผิวหนังบ่อยๆ และใช้สบู่เหลวอาบน้ำที่มีฤทธิ์อ่อน ไม่ระคายเคืองผิว
  • ไม่แนะนำให้เจาะหรือทำให้ตุ่มน้ำแตก เพราะจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนมากขึ้น
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งจนหมดและไปพบแพทย์ตามนัด

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณรูปภาพจากแอลซีคลินิก

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

  1. โรคตุ่มน้ำใส ถุงน้ำที่ผิวหนัง (Vesiculobullous) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  2. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  3. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  4. โรคงูสวัด (Herpes Zoster)
  5. เริม โรคเริม (HERPES SIMPLEX)
  6. โรคตุ่มพุพอง (Impetigo) แผลพุพอง คืออะไร อาการ และการรักษา

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน (Vesiculobullous disease) คืออะไร

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , .