โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

เชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)

โรคเชื้อราที่เล็บ คืออะไร

เชื้อราที่เล็บ คือ โรคความผิดปกติของเล็บที่พบได้บ่อย ติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ โดยสามารถเกิดได้ทั้งที่เล็บมือ และเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้า เนื่องจากความอับชื้นจากการใส่รองเท้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราก่อตัวขึ้น อีกทั้งบริเวณเท้ายังมีโอกาสสัมผัสสิ่งสกปรกได้มาก และนิ้วเท้ามีการหมุนเวียนของเลือดน้อยกว่าบริเวณนิ้วมือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เดินทางมากับเลือดน้อยกว่า อาการที่พบในระยะแรก จะพบเป็นจุดสีขาวหรือสีเหลืองบริเวณปลายเล็บ และหากเชื้อราเริ่มขยายตัว อาจทำให้เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ ซึ่งอาจสังเกตเห็นเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บได้

สาเหตุของโรคเชื้อราที่เล็บ

  1. การสัมผัสเชื้อราจากคนหรือสัตว์ที่เป็นโรค หรือสัมผัสจากดินที่มีเชื้อราปนเปื้อนอยู่
  2. เชื้อราจะพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน คนที่ใช้ยาสเตียรอยด์ คนที่ทำงานในที่อับชื้น เปียกน้ำนานๆ
  3. การใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น การทำเล็บ การใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่นในร้านเสริมสวย
  4. ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ เป็นต้น
  5. สวมรองเท้าที่คับ หรืออับชื้น
  6. มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
  7. เชื้อราที่เล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่ติดเชื้อ

เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราที่เล็บ

มีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่

  1. เชื้อราที่ผิวหนังกลุ่ม Dermatophyte เช่น T.rubrum , T.interdigitale
  2. เชื้อรากลุ่มพวกยีสต์ เช่น แคนดิดา
  3. เชื้อราบนดิน

อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ

  1. พบเป็นแถบสีขาวหรือเหลือง ที่ด้านข้างของเล็บ หรือที่ปลายเล็บ
  2. มีการหนาตัวของเล็บ และเห็นเป็นขุยหนาใต้เล็บ
  3. พบเป็นฝ้าขาวหรือเหลืองบนเล็บ และมีหลุมขรุขระบนเล็บ
  4. คันผิวหนังบริเวณขอบเล็บ ในบางครั้งผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา อาจเกิดอาการคัน บวม หรือแดง
  5. หากเชื้อรามีการทำลายเล็บรุนแรง เห็นเป็นลักษณะเล็บที่ผิดรูป
รักษา โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

รักษา เชื้อราที่เล็บ แอลซีคลินิก

การวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บ

โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บ โดยการซักประวัติความเสี่ยงในการติดเชื้อรา ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจเล็บ เพื่อดูลักษณะความผิดปกติของเล็บ บางครั้งแพทย์อาจใช้การเอาตัวอย่างเล็บ มาตรวจดูเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือส่งไปเพาะเชื้อ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น รวมถึงช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคความผิดปกติของเล็บอื่นๆได้ด้วย

การรักษา โรคเชื้อราที่เล็บ

  1. การใช้ยากินสำหรับฆ่าเชื้อราที่เล็บ
  2. การใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา เช่น ยาทาเล็บฆ่าเชื้อรา
  3. ในกรณีที่เป็นรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดดึงเอาเล็บออก

ทั้งนี้การรักษาเชื้อรา ควรใช้การรักษาร่วมกันทั้งยากินและยาทา ซึ่งใช้ระยะเวลารักษานานหลายเดือน และบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยให้เชื้อราหายไปทั้งหมด หรือทำให้เล็บที่ผิดปกติกลับมามีลักษณะดังเดิมได้ทั้งหมด อีกทั้งเชื้อรายังมีโอกาสกลับมาเกิดซ้ำ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรมารักษาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

ผลข้างเคียงจากเชื้อราที่เล็บ

ผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีอาการรุนแรง แม้จะได้รับการรรักษาจนเชื้อราหมดไปแล้ว แต่เล็บก็อาจไม่กลับมาอยู่ในสภาพปกติ นอกจากนั้น ผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งโดยปกติจะการไหลเวียนเลือดและการรับรู้จากเส้นประสาทที่เท้ามักลดลง เชื้อราในเล็บเท้าอาจแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงบริเวณเท้า และผิวหนังใกล้เคียงได้

การป้องกันเชื้อราที่เล็บ

  1. รักษาความสะอาดของมือและเท้า เช็ดให้แห้งหลังล้างมือและเท้า
  2. รักษาความสะอาดของเล็บมือและเล็บเท้า ตัดเล็บให้สั้น แต่ไม่ตัดสั้นจนกินส่วนเนื้อเข้าไป
  3. หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับเกินไป และเปลี่ยนถุงเท้าเมื่อเปียกชื้น
  4. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนดิน
  5. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำสกปรก
  6. หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว (แอลซีคลินิก)

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

บริการของเรา รักษา เล็บขบ เชื้อราที่เล็บ ขอบเล็บอักเสบ ผ่าตัดถอดเล็บ

  • บริการ ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรคเล็บทุกชนิด และผิวหนังรอบเล็บ
  • โรคเล็บขบ (Ingrown nail) ภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังใกล้ๆขอบเล็บ
  • โรคขอบเล็บอักเสบ (Paronychia) โรคขอบเล็บอักเสบชนิดเฉียบพลัน และขอบเล็บอักเสบชนิดเรื้อรัง
  • โรคติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)
  • โรคกลากที่เล็บ (Tinea ungium)
  • โรคน้ำกัดเท้า
  • โรคติดเชื้อแคนดิดาที่เล็บ (Candidiasis)
  • โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เล็บ หรือโรคเล็บเขียว (Green nail)
  • โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (Psoriatic nail)
  • บริการผ่าตัดถอดเล็บ (Nail Extraction)

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเด็ก ผมร่วง และโรคเล็บ ได้ที่บทความจากแอลซีคลินิก

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

  1. โรคเชื้อราที่เล็บ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน
  2. เล็บขบ (Ingrown nail) เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
  3. โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
  4. การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ
  5. รักษา โรคขอบเล็บอักเสบ เล็บขบ ยากิน ยาทา ถอดเล็บ เลือกยังไง

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

รักษา โรคผิวหนัง โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง, บทความ โรคเล็บ and tagged , , , , , , , , , .