เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร รักษายังไง ยากิน ยาทา วิธีป้องกัน

โรคเชื้อราที่ผิวหนัง (Superficial fungal infection)

เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร รักษายังไง ยากิน ยาทา วิธีป้องกัน

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

รักษา โรคเชื้อราที่ผิวหนัง แอลซีคลินิก

เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร

โรคติดเชื้อราแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.โรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง (Superficial fungal infection) และ 2.โรคติดเชื้อราในชั้นลึก (Deep fungal infection)

เชื้อราที่ผิวหนัง ประกอบด้วยโรคอะไรบ้าง

  1. โรคกลาก (Dermatophytosis)
  2. โรคติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis)
  3. โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor)
  4. Piedra
  5. Tinea nigra
  6. โรคกลากเทียม (Dermatomycosis) เป็นต้น

1.โรคกลาก (Dermatophytosis)

เป็นโรคติดเชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดจากเชื้อรากลุ่ม dermatophyte ซึ่งเป็นราสายที่สามารถย่อยเคราตินเป็นอาหาร จึงก่อให้เกิดโรคได้กับเนื้อเยื่อที่มีเคราติน ได้แก่ ผิวหนัง เส้นผม เล็บ

สาเหตุของการติดเชื้อโรคกลาก

สามารถแบ่งสาเหตุการติดเชื้อโรคนี้ได้ ตามแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของเชื้อราเป็น 3 กลุ่มคือ

  • geophilic เชื้อราที่อาศัยอบู่ตามดิน
  • anthropophilic เชื้อราที่ปรับตัวจนสามารถอาศัยมนุษย์เป็น host ได้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
  • zoophilic เชื้อราที่พบในสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว

อาการของโรคกลาก

โรคกลากจะมีอาการได้หลายตำแหน่งของผิวหนังบนร่างกาย โดยมีชื่อเรียกแยกตามบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อดังนี้

  1. Tinea capitis เป็นโรคกลากของเส้นผมและหนังศีรษะ
  2. Tinea barbae เป็นโรคกลากที่หนวดเครา
  3. Tinea corporis เป็นโรคกลากที่ลำตัว
  4. Tinea cruris เป็นโรคกลากที่ขาหนีบ อวัยวะเพศ หัวเหน่า และก้น 
  5. Tinea pedis เป็นโรคกลากที่เท้า
  6. Tinea manuum เป็นโรคกลากที่ฝ่ามือและง่ามนิ้วมือ
  7. Tinea ungium เป็นโรคกลากที่เล็บ
  8. Tinea faciei เป็นโรคกลากที่ใบหน้า
  9. โรคกลากในรูปแบบอาการอื่นๆ เช่น Tinea incognito เป็นโรคกลากที่รักษาผิดพลาดด้วยยาทาสเตียรอยด์ 

2.โรคติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis)

โรคติดเชื้อราแคนดิดา ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังและเยื่อบุ เช่น เยื่อบุของทางเดินอาหาร เยื่อบุของทางเดินหายใจ และเยื่อบุของทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิดา

เชื้อแคนดิดาที่พบบ่อย คือ Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุก่อโรคในคนได้ถึง 70-80% ของการติดเชื้อแคนดิดาทั้งหมด ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อแคนดิดา จะพบในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, โรคมะเร็ง, เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น
  • สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น บาดแผล, ความอับชื้น, การได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลานาน, ขาดธาตุเหล็ก, โรคเบาหวาน, ภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น

อาการของโรคติดเชื้อแคนดิดา

โรคติดเชื้อแคนดิดา มีลักษณะทางคลินิกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการติดเชื้อ ดังนี้

  1. เยื่อบุช่องปาก (oral candidiasis) การติดเชื้อบริเวณนี้จะพบบ่อยในเด็กทารก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ลักษณะผื่นเป็นฝ้าขาวคล้ายคราบน้ำนม ฝ้าขูดออกง่ายเป็นรอยถลอกสีแดง มักพบที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานปาก และเหงือก
  2. อวัยวะเพศ จะมีการติดเชื้อที่บริเวณช่องคลอด เรียกว่า vulvovaginal candidiasis มาด้วยอาการตกขาวสีขุ่น คันช่องคลอด และการติดเชื้อที่อวัยวะเพศชาย เรียกว่า candida balanitis 
  3. ผิวหนัง โรคติดเชื้อแคนดิดาที่ผิวหนัง (candida intertrigo, cutaneous candidiasis) มาด้วยอาการผื่นแดงแฉะ ล้อมรอบด้วยตุ่มหนองเล็กๆ คันแสบ พบได้บริเวณซอกพับที่อับชื้น เช่น ขาหนีบ รักแร้ ร่องก้น ใต้ราวนม
โรคเกลื้อน Pityriasis Versicolor คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา เชื้อราที่ผิวหนัง

การรักษา โรคเกลื้อน เกลื้อนที่หลัง

3.โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor)

โรคติดเชื้อราเกลื้อนเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเขตร้อน ส่วนมากพบในช่วงวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่การทำงานของต่อมไขมันเยอะ 

สาเหตุของการติดเชื้อเกลื้อน

โรคเกลื้อนเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มยีสต์ Malassezia ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถพบได้ในผิวหนังคนปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก แต่ในสภาวะบางอย่าง เช่น ความร้อนอับชื้น กรรมพันธุ์ การทานยาคุมกำเนิด การทายาสเตียรอยด์ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีเหงื่อออกมาก ทำให้เชื้อมีการเปลี่ยนรูปและสามารถก่อให้เกิดโรคได้

อาการของโรคติดเชื้อเกลื้อน

โรคติดเชื้อเกลื้อนมักจะมาด้วยอาการผื่นราบมีขุยละเอียด พบได้หลายสี เช่น ขาว แดง น้ำตาล เทา มักพบบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก คือ หน้าอก หลัง ต้นแขน ต้นขา ถ้าเป็นมากผื่นอาจลามไปที่คอ ใบหน้า และสะโพกได้ มักไม่ค่อยคันหรือคันเล็กน้อย พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีเหงื่อออกเยอะบ่อยๆ

4.โรคเชื้อรา Piedra

โรคติดเชื้อรา Piedra หรือ trichomycosis nodularis เชื้อราชนิดนี้จะติดเชื้อที่บริเวณเส้นผมและขน มี 2 ชนิด คือ black piedra และ white piedra 

อาการของโรคติดเชื้อรา piedra

  • Black piedra มักจะมาด้วยอาการเป็นตุ่มแข็งสีน้ำตาล-ดำ ติดแน่นบนเส้นผม ตุ่มมีขนาดเล็กไม่เกิน 2-3 มม. มักทำให้เส้นผมเปราะหักง่าย ส่วนมากเป็นที่ศีรษะโดยเฉพาะด้านหน้า
  • White piedra มักจะมาด้วยอาการเป็นตุ่มไม่ค่อยแข็งสีขาวหรือเบจ ติดไม่ค่อยแน่นบนเส้นขน อาจทำให้เส้นผมเปราะหักน้อยกว่า black piedra

5.โรคติดเชื้อราดำ (Tinea nigra)

โรคติดเชื้อราดำ หรือ Tinea nigra มักพบการติดเชื้อนี้ที่ชั้นผิวหนังส่วนบน หรือชั้นขี้ไคล พบได้บ่อยที่บริเวณฝ่ามือ 

สาเหตุของการติดเชื้อราดำ

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อราดำที่มีชื่อว่า Hortae werneckii ราดำชนิดนี้มักพบในดิน ขยะ พืชเน่า การติดเชื้อจะเกิดจากการที่มีบาดแผลทิ่มแทง แล้วเชื้อราจะเข้าไปตามแผล ทำให้เกิดผื่นหลังระยะฟักตัว 2-7 สัปดาห์

อาการของโรคติดเชื้อราดำ

โรคนี้สามารถพบได้ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ โดยมักจะมาด้วยอาการผื่นราบ ไม่มีขุย ไม่มีอาการ สีออกน้ำตาลไปจนถึงเขียวดำ ขอบผื่นมักสีเข้มที่สุด ส่วนมากเป็นที่บริเวณมือ แต่ก็สามารถพบที่อื่นได้ เช่น ฝ่าเท้า นิ้ว เล็บ

กลาก เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

รักษา เชื้อราที่ศีรษะ

เชื้อราที่ผิวหนัง รักษายังไง

การเลือกวิธีการรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง โดยทั่วไปจะคำนึงถึงโรคเชื้อราที่เป็น ตำแหน่งของผิวหนังที่มีการติดเชื้อ ความรุนแรงของการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อรามีดังนี้

ยาทารักษาเชื้อราที่ผิวหนัง

  • Whitfield’s ointment 
  • Tolnalftate
  • ยาทากลุ่ม imidazole เช่น clotrimazole, econazole, ketoconazole, miconazole, sertaconazole เป็นต้น
  • ยาทาในกลุ่ม allylamine ได้แก่ terbinafine 
  • Ciclopirox

แชมพูและยาฟอกรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง

  • Selenium sulfide 1-2.5%
  • Zinc pyrithione 1-2%
  • Ketoconazole 2%
  • Ciclopirox

ยากินรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง

  • Griseofulvin
  • Itraconazole
  • Ketoconazole
  • Fluconazole
  • Terbinafine

วิธีป้องกันโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

  1. สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
  2. ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น หวี เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ รองเท้า
  3. นำรองเท้ามาซักทำความสะอาดเป็นประจำ
  4. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  5. ถ้าทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก ให้รีบอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่
  6. ไม่เดินลุยน้ำ ย้ำน้ำ 
  7. ไม่เดินเท้าเปล่าบนดิน

เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร รักษายังไง ยากิน ยาทา ยาฟอก และวิธีป้องกัน

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

  • Fungal skin infection : dermatophyte infections, candidiasis, tinea versicolor, www.uptodate.com
  • ตำราโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง, นายแพทย์โกวิท คัมภีรภาพ, สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

บทความด้านโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

  1. โรคงูสวัด (Herpes Zoster)
  2. รักษาโรคงูสวัดทำยังไง ยากิน ยาทา วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
  3. โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา
  4. โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  5. เริม โรคเริม (HERPES SIMPLEX) คืออะไร อาการ การรักษา
  6. เริมเรื้อรัง เป็นเริมบ่อยมาก (Recurrent Herpes Simplex) รักษายังไง
  7. ผื่นจากแมลงกัด ตุ่มแพ้แมลงกัด (Insect bite reaction)
  8. โรคตุ่มพุพอง (Impetigo) แผลพุพอง คืออะไร อาการ และการรักษา
  9. หูด (Wart) สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคหูดที่ผิวหนัง
  10. การรักษาหูด ที่ผิวหนัง มีวิธีอะไรบ้าง ยาทา จี้เย็น เลเซอร์ และการผ่าตัด
  11. โรคอีสุกอีใส คืออะไร อาการ การรักษา (Chickenpox)
  12. โรคหิด (Scabies) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  13. โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  14. จี้เย็นกำจัดหูด จี้หูด (Cryotherapy) คืออะไร ใช้กำจัดหูดอะไรได้บ้าง
  15. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก หู หนังศีรษะ
  16. โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา
  17. รักษา โรคผื่นกุหลาบ เกลื้อนกุหลาบ ทำยังไง ยากิน ยาทา การฉายแสง

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร รักษายังไง ยากิน ยาทา ยาฟอก และวิธีป้องกัน

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

 

Posted in Uncategorized.