การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

การถอดเล็บ (Nail Extraction)

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

ผ่าตัดถอดเล็บ (แบบบางส่วน) รักษาเล็บขบ

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ คืออะไร

การถอดเล็บ คือ การผ่าตัดทางการแพทย์ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อถอดเล็บมือหรือเล็บเท้าที่ผิดปกติออกมา ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้องทำการถอดเล็บ ได้แก่ การเกิดเล็บขบ เล็บฉีกขาด หรือเล็บบางส่วนหลุดออกจากเนื้อเยื่อฐานเล็บ การถอดเล็บเป็นการเปิดโอกาสให้เล็บมือหรือเล็บเท้างอกขึ้นมาใหม่ตามกระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งเล็บมักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการงอกขึ้นมาใหม่ แต่ในกระบวนการงอกใหม่ของเล็บไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด

สาเหตุที่ต้องรักษาด้วยการถอดเล็บ

สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ต้องรักษาด้วยการถอดเล็บทั้งแบบบางส่วน และการถอดออกทั้งเล็บ ได้แก่

  • การเป็นเล็บขบซ้ำๆ หรือเล็บขบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากินและยาทา
  • ประสบอุบัติเหตุที่เล็บ ทำให้เล็บฉีกขาด
  • การติดเชื้ออย่างรุนแรงที่เล็บ เช่น เชื้อราที่เล็บ
  • ความผิดปกติของเล็บอื่นๆ ที่แพทย์ลงความเห็นให้ถอดเล็บ

เล็บขบ เกิดจากอะไร

เล็บขบเกิดจากการที่ภาวะที่ขอบหรือมุมของเล็บ งอกเลยเข้าไปในชั้นของผิวหนังของนิ้วที่ห่อหุ้มเล็บอยู่ เมื่อเล็บไม่สามารถงอกออกมาจนผ่านผิวหนัง จะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบเล็บขึ้นมาได้

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ เป็นยังไง

การรักษาเล็บขบมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการกินยา ทายา และผ่าตัดถอดเล็บ การถอดเล็บรักษาเล็บขบ จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเล็บขบรุนแรง หรือมีการติดเชื้อร่วมด้วย ทำให้ขอบเล็บมีอาการปวด บวม แดง และอักเสบมาก จนเล็บไม่สามารถงอกออกมาพ้นผิวหนังได้

ขั้นตอน การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ

หากคนไข้มีอาการเล็บขบรุนแรง และต้องรักษาด้วยวิธีการถอดเล็บ คุณหมอจะประเมินก่อนว่า ต้องถอดออกทั้งเล็บ หรือถอดเพียงบางส่วนของเล็บ โดยมีวิธีการทำมีดังนี้

  1. ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการถอดเล็บด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  2. ฉีดยาชา เพื่อระงับความรู้สึก
  3. ทำการถอดเล็บออก (ถอดออกทั้งเล็บหรือถอดแบบบางส่วน)
  4. ตัดตกแต่งเนื้อเยื่อของเล็บ เนื้อเยื่อใต้เล็บ และขอบเล็บส่วนที่มีปัญหาออก
  5. ล้างทำความสะอาดเนื้อเยื่อใต้เล็บ และเล็บส่วนที่เหลือให้สะอาด
  6. ทายาปฎิชีวนะ พันแผลด้วยผ้าสะอาดปลอดเชื้อ
การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

การถอดเล็บแบบบางส่วน รักษาเล็บขบ

การดูแลแผลของคนไข้ที่ทำการถอดเล็บ

  • สัปดาห์แรก แนะนำให้คนไข้กลับมาทำแผลที่คลินิก วันละ 1 ครั้ง
  • 1-3วันแรก เวลานอนให้ยกมือหรือเท้าสูง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวมมาก
  • ระวังแผลติดเชื้อ หรือการเปียกชื้นที่แผล
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ไม่สวมรองเท้าที่คับแน่นเกินไป (ในกรณีที่ถอดเล็บเท้า)
  • หากคนไข้มีลักษณะอาการต่อไปนี้ ให้มาพบแพทย์ทันที คือ มีเลือดไหลชุ่มผ้าพันแผลตลอดเวลา แผลบวม แดงมาก ปวดแผลมาก หรือมีไข้หนาวสั่น

เล็บงอกสมบูรณ์เมื่อไหร่

เล็บมือจะยาวเร็วกว่าเล็บเท้า โดยเล็บมือใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน และเล็บเท้าใช้เวลาประมาณ 10-18 เดือน ในการงอกให้สมบูรณ์ ดังนั้นการดูแลในช่วงการงอกของเล็บ หลังการผ่าตัดถอดเล็บจึงมีความสำคัญ ถ้าคนไข้มีอาการปวด บวมแดง หรือเจ็บ ขึ้นมาในช่วงการงอกของเล็บ แนะนำให้รีบกลับมาพบแพทย์ที่ทำการผ่าตัด เพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเล็บขบ

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงสำหรับคนเป็นโรคเล็บขบ คือเรื่องการติดเชื้อ หากปล่อยให้เป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อโดยที่ไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลามลึกลงไปกระดูกนิ้วเท้าได้ การติดเชื้อที่เล็บเท้าสามารถทำให้เป็นแผลอักเสบพุพองที่เท้าและขาดเลือดหมุนเวียนบริเวณที่ติดเชื้อ รวมไปถึงอาจเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการติดเชื้อได้

นอกจากนี้ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน การติดเชื้อที่เท้ามีโอกาสเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งการเป็นเล็บขบอาจกลายไปเป็นการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีการไหลเวียนโลหิตมายังบริเวณนิ้วเท้าเสื่อมลง และมีปัญหาชาบริเวณเท้า จึงควรพบแพทย์โดยเร็วหากเป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย

การป้องกันโรคเล็บขบ

เล็บขบสามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

  • ตัดเล็บเท้าให้ตรงและไม่ให้ขอบของเล็บเท้าโค้ง
  • หลีกเลี่ยงการตัดเล็บเท้าให้สั้นเกินไป
  • เลือกใส่รองเท้าให้พอดีไม่คับเกินไป รวมไปถึงถุงเท้าและถุงน่อง
  • สวมรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าที่ช่วยปกป้องเท้า หากต้องทำงานที่มีอันตรายต่อเท้า
  • หากเล็บเท้ามีความหนาหรือโค้งผิดปกติ อาจป้องกันการเกิดเล็บขบได้ด้วยการผ่าตัดตกแต่ง
  • ล้างเท้าให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน แล้วเช็ดให้เท้าแห้ง
  • ทาครีมบำรุงผิวที่เท้าเป็นประจำ
  • หมั่นตรวจดูเท้า นิ้วเท้า และเล็บ อย่างสม่ำเสมอ

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : พญ.ปัทมา  ปาประโคน – นพ.ชินดนัย  วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอหลิว-หมอชิน) แพทย์ผิวหนังประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : แอลซีคลินิก (LC Clinic)

แอลซีคลินิกให้บริการตรวจรักษาโรคผิวหนัง ผมร่วง เล็บ สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ และผ่าตัดเล็ก

ที่แอลซีคลินิกทั้ง 2 สาขาคือ

  1. สาขาโคราช จ.นครราชสีมา ตรงข้ามตลาดสวายเรียง เยื้องตลาดร้อยปีเมืองย่า
  2. สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ในซอยบขส.ประโคนชัย หน้าตลาดนัดคลองถม

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

  1. โรคเชื้อราที่เล็บ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน
  2. เล็บขบ (Ingrown nail) เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
  3. โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
  4. รักษา โรคขอบเล็บอักเสบ เล็บขบ ยากิน ยาทา ถอดเล็บ เลือกยังไง

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ โรคผิวหนัง, บทความ โรคเล็บ and tagged , , , , , , , .