โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน มีอะไรบ้าง น้ำกัดเท้า เชื้อรา

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝ

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังเด็กในหน้าฝน ที่พบบ่อย โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน

โรคผิวหนังเด็กในหน้าฝน ที่พบบ่อย

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนที่ตกลงมา จะทำให้เกิดภาวะที่หลีกเลี่ยงได้ยากนั้นคือ อากาศที่อับชื้น เสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมชื้นแฉะ ซึ่งทำให้ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน มักมีสาเหตุมาจากเชื้อรา และความอับชื้น โดยโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยๆในหน้าฝนมีดังนี้

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน

1. โรคน้ำกัดเท้า (โรคเชื้อราที่เท้า)

อาการของโรคน้ำกัดเท้า

  • โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคเชื้อราที่เท้า ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน อาจจะทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังเกิดขึ้น หรือเวลาที่ฝนตกนานเป็นชั่วโมง แล้วเราต้องเดินตากฝน ซึ่งทำให้ต้องเดินย่ำน้ำ ลุยน้ำ เป็นเวลานาน และถ้าเกิดว่ายังไม่ได้รีบทำความสะอาดเท้า ผ่านไปสักระยะหนึ่งอาจพบว่าผิวตามซอกนิ้วเท้าลอกเป็นขุยขาวๆ หรือเปื่อยยุ่ย หรืออาจถึงขั้นเป็นแผล มีน้ำเหลืองแฉะที่ผิว แสดงว่าเป็นโรคนี้ไปเรียบร้อยแล้ว

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

  • การรักษาโรคน้ำกัดเท้า หลักการสำคัญคือเรื่องการรักษาความสะอาดที่เท้า และหลีกเลี่ยงความชื้นแฉะ แนะนำให้ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาด ไม่อับชื้น โรยแป้งฝุ่นที่เท้าลดความอับชื้น และใช้ยาทารักษาเชื้อรา เมื่อพบว่ามีอาการติดเชื้อราที่ผิวหนังแล้ว แต่ถ้ามีอาการผื่นแดงมาก แสบ คันมาก แนะนำให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่ขาหนีบ พยาธิที่เท้า ผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน

2. โรคเชื้อราที่ขาหนีบ (สังคัง)

อาการของโรคเชื้อราที่ขาหนีบ

  • โรคเชื้อราที่ขาหนีบ คือการติดเชื้อกลากบริเวณขาหนีบ ต้นขา และข้อพับต้นขา เริ่มต้นเป็นตุ่มแดง หรือผื่นแดงเล็กๆ จากนั้นค่อยๆขยายวงกว้างออกจนเป็นวงกลม เห็นเป็นขอบเขตชัดเจน ผิวจะแห้งและอาจมีขุย บริเวณตรงกลางมักเป็นผิวหนังปกติ มีอาการคัน วงมีขนาดตั้งแต่เล็กถึงขนาดใหญ่

การรักษาโรคเชื้อราที่ขาหนีบ

  • ใช้ครีมทารักษาเชื้อรา
  • ดูแลผิวให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ อย่าลืมเช็ดตัวให้แห้งสนิทหลังจากอาบน้ำ เพราะเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่เสียดสีหรือทำให้ง่ามขาระคายเคือง. เช่น การใส่กางเกงในตึงเปรี๊ยะ หรือกางเกงขาสั้นรัดแน่นทุกชนิด
  • พยายามไม่เกา เพราะการเกาเป็นการกระตุ้นผื่นคัน อาจทำให้ผื่นลุกลามไปทั่วผิว จนเกิดการติดเชื้อได้ในที่สุด
  • ปรึกษาแพทย์ถ้ารอยแดงที่ตกสะเก็ดไม่หายไปใน 1-2 สัปดาห์ ถ้ารอยแดงดูแย่ลง คันมาก หรือสังเกตเห็นว่าผื่นเริ่มกลายเป็นสีเหลืองและมีหนองซึมออกมา ให้รีบมาพบแพทย์

การป้องกันเชื้อราที่ขาหนีบ

  1. อาบน้ำเป็นประจำทุกวัน อย่ารอจนกว่าจะถึงเวลาที่เหงื่อออกเยอะ หรือหลังจากออกกำลังกายจึงจะลงมืออาบน้ำ และอย่าลืมใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ยับยั้งแบคทีเรียและสบู่ขจัดกลิ่นตัว
  2. ดูแลขาหนีบให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นเชื้อราที่ขาหนีบได้ง่าย อาจจะลองทาแป้งยับยั้งเชื้อรา หรือแป้งป้องกันการอับชื้นบริเวณขาหนีบหลังการอาบน้ำ
  3. เลือกใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมๆ และลื่นสบายเข้าไว้
  4. หมั่นซักกางเกงในเป็นประจำ และห้ามใช้ผ้าขนหนูหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น เพราะเชื้อราที่ขาหนีบอาจแพร่กระจายเมื่อสัมผัสกับเสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวที่ไม่ได้ซักล้าง

3. โรคติดเชื้อพยาธิที่เท้า (พยาธิไชเท้า)

อาการของโรคติดเชื้อพยาธิที่เท้า

  • โรคติดเชื้อพยาธิที่เท้า หรือพยาธิไชเนื้อ หรือ Larva migrans เกิดจากการที่คนถูกพยาธิปากขอใชเข้าทางผิวหนัง แล้วชอนใชไปตามผิวหนัง ทำให้เกิดรอยแดงเป็นทางยาววกไปวนมาค่อยๆยาวขึ้นเรื่อยๆ รอยแดงที่เกิดขึ้นเกิดจากปฏิกิริยาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของร่างกายต่อเชื้อพยาธิ มีอาการคันมาก ซึ่งมักจะพบในคนที่เดินเท้าเปล่า บนดินบนทราย หรือเข้าไปในป่าที่ค่อนข้างชื้น ที่มีตัวพยาธิเกาะอยู่ตามใบไม้ ตามพื้น หรือที่แฉะ โดยเฉพาะหน้าฝนหรือน้ำท่วม จะพบได้บ่อยขึ้น

การรักษาโรคติดเชื้อพยาธิที่เท้า

  • ควรใส่รองเท้าเวลาออกไปข้างนอกทุกครั้ง อย่าเดินย่ำพื้นดินด้วยเท้าเปล่า
  • ถ้าพบเกิดผื่นลักษณะแบบนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาให้หายด้วยการทานยาถ่ายพยาธิ

4. โรคผิวหนังอักเสบ

อาการของโรคผิวหนังอักเสบ

  • ในฤดูฝน ฝุ่นลมที่มากับพายุฝน ทำให้โอกาสเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคผิวหนังอักเสบ พบได้บ่อยขึ้น นอกจากนี้การอาบน้ำอุ่นจัด หรือร้อนเกินไปในช่วงที่อากาศหนาว ยังจะทำให้ผิวหนังแห้ง เกิดอาการคันและผิวหนังอักเสบได้ง่ายอีกด้วย อาการของโรคผิวหนังอักเสบ มักจะมาด้วยผื่นแดง คันมาก และผิวลอกเป็นขุยๆ สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด หรือร้อนจัด
  • หลังจากอาบน้ำควรใช้ครีมบำรุงผิวเป็นประจำ
  • ถ้าผื่นมีอาการแดงคันมาก ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาด้วยยาแก้แพ้ และยาลดการอักเสบ
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่ขาหนีบ พยาธิที่เท้า ผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูฝน

5. โรคเท้าเหม็น

อาการของโรคเท้าเหม็น

  • โรคเท้าเหม็น หรือ Pitted Keratolysis เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง พบได้บ่อยในผู้ที่สวมใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน เนื่องจากทำให้มี เหงื่อออกที่เท้ามาก เท้าอับชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ส่วนกลิ่นเหม็นนั้น เกิดจากการย่อยผิวหนังที่ฝ่าเท้าของแบคทีเรีย ส่งผลให้ได้สารในกลุ่มซัลเฟอร์ (Sulfur compound) ซึ่งเป็นสารที่ส่งกลิ่นเหม็นออกมา
  • อาการของโรคเท้าเหม็น จะเห็นเป็นลักษณะผิวหนังเปื่อยถลอกที่เท้า โดยเฉพาะฝ่าเท้า เวลาถอดถุงเท้าออก จะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า รอยถลอกที่ฝ่าเท้าจะมีลักษณะคล้ายแผนที่ เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะพบว่า รอยถลอกเหล่านี้ประกอบไปด้วยหลุมเล็กๆความลึกประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ปริมาณนับไม่ถ้วน ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียย่อยสลายผิวหนัง ที่ฝ่าเท้าชั้นนอกสุด รอยโรคนี้มักพบมากที่ฝ่าเท้า บริเวณที่รับน้ำหนักมาก เช่น ฝ่าเท้าส่วนนิ้วโป้ง ส้นเท้า แต่บริเวณง่ามนิ้วเท้าที่ไม่ได้รับน้ำหนัก แต่มีความอับชื้นมาก ก็พบได้บ่อยเช่นกัน

การรักษาโรคเท้าเหม็น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเท้าเหม็นนี้ มี 2 ปัจจัยหลักคือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และภาวะความอับชื้นของเท้า การรักษาจึงจำเป็นต้องรักษา และดูแลปัจจัย 2 อย่างนี้

  1. การรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียนั้น โดยหลักใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดทา เช่น Clindamycin, Erythromycin และ/หรือ ยาทาที่ช่วยให้ผิวหนังลอกตัว เพื่อสร้างผิวหนังขึ้นใหม่ และมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย เช่น Benzoyl peroxide หรือ ยาที่เป็นแป้งผงฆ่าเชื้อ โดยทายา เช้า-เย็น จนกว่าผื่นของโรคจะหาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการหลีกเลี่ยงภาวะอับชื้นของเท้าด้วย
  2. การป้องกันภาวะอับชื้น ทำได้โดย ลดเวลาในการใส่รองเท้าหุ้มส้นให้เหลือน้อยๆที่สุด, หากมีเหงื่อออกมาก ควรเปลี่ยนถุงเท้าระหว่างวัน เพื่อลดความอับชื้น, ทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ที่มียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม แล้วเช็ดเท้าให้แห้งเป็นประจำ

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน มีอะไรบ้าง

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน) แพทย์ด้านผิวหนัง

เอกสารอ้างอิง

บทความโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ

บทความโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านผิวพรรณและการดูแลตัวเอง

  1. ไมเยอร์ คอกเทล (Myers Cocktail) วิตามินบำรุงร่างกายและผิวพรรณ
  2. ผิวแห้ง โรคผิวหนังแห้ง คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  3. รักษา ขนคุด ทำยังไงดี ยากิน ยาทา ทรีทเมนท์ เลเซอร์
  4. โรคผิวหนังในหน้าร้อน โรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลผิวในฤดูร้อน
  5. การดูแลผิวในช่วงหน้าฝน การดูแลผิวพรรณในฤดูฝน
  6. 9 เคล็ดลับดูแลผิวช่วงหน้าหนาว โดยแพทย์ผิวหนัง
  7. โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่ขาหนีบ พยาธิที่เท้า
  8. หมอเตือนภัย ครีมผิวขาว ใช้แล้วผิวบาง รอยผิวแตกสีม่วงคล้ำ มีสารอันตราย
  9. บุหรี่ส่งผลยังไงต่อ ผมร่วง ผิวหนัง และความสวย

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน มีอะไรบ้าง

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ ความงาม, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , .