ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ Keratosis Pilaris คืออะไร รักษายังไงดี

ขนคุด (Keratosis Pilaris)

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดีน่าา

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดีน่าา

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ ทำยังไงดี ???

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ คืออะไร

ขนคุด (Keratosis Pilaris) คือ ภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันบริเวณรูขุมขน มักมาด้วยอาการผิวแห้ง ผิวเป็นปื้นหยาบ และเป็นตุ่มนูนที่รูขุมขน เวลาสัมผัสไปที่บริเวณผิวหนังดังกล่าวจะให้ความรู้สึกสากๆ เป็นตุ่มนูนๆ บริเวณที่พบบ่อยคือ ต้นแขนส่วนบน ต้นขาส่วนบน ก้นหรือแก้ม โรคนี้มักไม่ทำให้รู้สึกคันหรือเจ็บ

ขนคุด เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ประมาณ 50-80% ของเด็กและวัยรุ่นทั่วโลก และประมาณ 40% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกเช่นกัน ทั้งนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดขนคุด

ขนคุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการสะสมของเคราติน (Keratin) โดยเคราตีนเป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการการติดเชื้อ หรือป้องกันสารอันตรายต่างๆที่ผิวหนัง ซึ่งการสะสมของเคราตินทำให้เกิดการอุดตันที่ทางออกของรูขุมขน จึงทำให้ขนงอกขึ้นมาไม่ได้เหมือนปกติ และกลายเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง เห็นเป็นตุ่มนูนอยู่ตามรูขุมขน และเมื่อเป็นเยอะๆจึงทำให้บางคนเห็นว่าเป็นเหมือนหนังไก่ที่ถูกถอนขน

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบว่าอะไร เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสะสมของเคราติน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรือภาวะโรคทางผิวหนัง เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง มักมีโอกาสเกิดขนคุดได้มาก และอาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศน้อย และมักทำให้ผิวแห้งกว่าปกติ

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดีน่าา

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดีน่าา

สาเหตุที่ทำให้เกิดขนคุด (Keratosis Pilaris)

อาการของโรคขนคุด

โรคขนคุด สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กเล็กและวัยรุ่น ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • มีตุ่มนูนเล็กๆ ขึ้นตามผิวหนัง
  • ผื่นมักเกิดขึ้นที่ต้นแขน-ต้นขาส่วนบน แก้ม และก้น
  • มักไม่มีอาการอาการเจ็บหรือคัน
  • สีที่พบมีได้ตั้งแต่สีเดียวกับผิวปกติ สีขาว สีแดง ไปจนถึงสีดำได้ในคนผิวดำ
  • บริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่มขนคุด จะมีผิวที่แห้งและหยาบกร้าน
  • เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะเมื่อมีความชื้นในอากาศน้อย มักจะทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
  • เมื่อลูบสัมผัสที่ผิวหนังจะรู้สึกผิวแห้งและมีตุ่มนูนๆ คล้ายกระดาษทราย

ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดขนคุด

ขนคุด สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ อาจเป็นโรคเดียว หรือพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis), โรคผิวหนังคล้ายเกล็ดปลา/ผิวแห้งมากจนตกสะเก็ด (Ichthyosis) โดยจะพบขนคุดได้บ่อยในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้งกว่าปกติ

การวินิจฉัยโรคขนคุด

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคขนคุดหรือไม่นั้น สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายของผิวหนังซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติ หรือการตัดชิ้นเนื้อ แต่ถ้ามีข้อสงสัยต้องวินิจฉัยแยกจากโรคผิวหนังอื่น ก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม แต่กรณีเช่นนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

หากมีอาการขนคุด หรือสงสัยว่าเป็นโรคขนคุด สามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้

การรักษา ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่

โรคขนคุด ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด โดยตัวโรคมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น ในส่วนของการรักษาเป็นการรักษาเพื่อให้ผื่นยุบลง โดยหลักการคือการใช้ยาเพื่อให้โปรตีนเคอราตินที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก ทำให้ผิวกลับมาเรียบเนียนใกล้เคียงกับปกติ ทั้งนี้ผลการรักษาจะเริ่มสังเกตเห็นได้หลังการรักษาตั้งแต่ประมาณ 3-4 สัปดาห์จนถึง 2-3 เดือน

การรักษาขนคุด

มีวิธีการรักษาโดยแบ่งตามความรุนแรงของโรคขนคุดได้ดังนี้

การรักษาขนคุดชนิดรุนแรงน้อย (อาการไม่มาก)

ในรายที่มีอาการขนคุดไม่มาก การรักษาโดยหลักคือการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ได้แก่

  • การใช้สบู่อ่อนๆ สำหรับในรายที่ผิวแห้งหรือผิวแพ้ง่าย
  • งดอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน
  • งดการขัด (Scrub) ผิว เนื่องจากจะทำให้ผิวแห้ง และระคายเคืองมากขึ้น
  • ทาครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า-เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง โดยครีมควรมีส่วนประกอบของสารให้ความชุ่มชื้นและผลัดเซลล์ผิวอุดตัน (Keratolytic)

การรักษาขนคุดชนิดรุนแรงมาก (อาการมาก)

ในรายที่มีอาการขนคุดมาก แพทย์จะเริ่มให้มีการใช้ยาทา ร่วมกับการปฏิบัติตนเหมือนการรักษาขนคุดชนิดรุนแรงน้อย ยาที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่

  • ยาทาอนุพันธุ์ของวิตามิน-เอ (Topical Isotretinoin) ช่วยในการผลัดโปรตีนเคอราตินให้อุดตันออก โดยใช้ทาก่อนนอนวันละครั้ง ทั้งนี้ให้เริ่มต้นจากยาที่มีความเข้มข้นต่ำก่อน
  • ยาทาฆ่าเชื้อ ใช้ในช่วงที่มีการอักเสบ และติดเชื้อที่บริเวณผื่นขนคุด
  • ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการแดง คัน และอักเสบ โดยให้ใช้ยากลุ่มนี้เพียงช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น
  • การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทำทรีทเมนท์ด้วย AHA, การใช้ยารับประทาน, และการทำเลเซอร์กำจัดขน
รักษา ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ ทำยังไงดี ยากิน ยาทา ทรีทเมนท์ เลเซอร์

โปรแกรมรักษาขนคุด แอลซีคลินิก

ผลข้างเคียงจากโรคขนคุด

ขนคุด ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญ และความวิตกกังวลกับผิวหนังที่ไม่สวยงาม แต่ก็พบว่าผู้ที่มีอาการขนคุดบางราย มักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง  รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดได้มากขึ้น

โรคขนคุดหายขาดไหม

โดยธรรมชาติของขนคุด ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษาสามารถทำให้ตุ่มขนคุดยุบลง และผิวหนังเรียบเนียนใกล้เคียงกับผิวปกติได้ และในบางรายอาการจะดีขึ้น หรือหายเองได้เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

โดยขนคุด มักจะมีอาการกำเริบมากขึ้นในฤดูหนาว หรือในภาวะที่ทำให้เกิดมีผิวแห้ง

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคขนคุด

ในปัจจุบันแม้จะยังไม่สามารถป้องกันการเกิดขนคุดได้ แต่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ ด้วยการดูแลผิวไม่ให้แห้ง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ด้วยวิธีการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรเกาบริเวณตุ่มรูขุมขน หรือขัดถูผิวหนังบริเวณที่เป็นขนคุดรุนแรงเกินไป
  • เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำที่อุณหภูมิปกติ หรือถ้าจะใช้น้ำอุ่นควรใช้ที่อุณหภูมิไม่สูงจนเกินไป และเมื่อต้องอาบน้ำ แช่น้ำ หรือว่ายน้ำ ควรจำกัดเวลาอยู่ในน้ำไม่ให้นานจนเกินไป ประมาณไม่เกิน 10 นาที เพราะเมื่ออาบน้ำร้อนหรืออยู่ในน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ไขมันที่ผิวหนังถูกกำจัดไป และทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่อาบน้ำที่แรงเกินไป เพราะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
  • ใช้ครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำ โดยหลังจากอาบน้ำในขณะที่ผิวกำลังหมาดๆ สามารถใช้ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้น ทาผิวได้ทันที
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับหรือเข้ารูปจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดี

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  1. รักษา ขนคุด ทำยังไงดี ยากิน ยาทา ทรีทเมนท์ เลเซอร์
  2. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
  3. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
  4. สาเหตุ 9 อย่างที่ก่อให้เกิดสิว ที่พบได้บ่อยมากๆ
  5. สิวที่หน้า ฉบับจัดเต็ม โดยทีมแพทย์ด้านผิวหนัง
  6. สิวที่ตัว สิวที่หลัง เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
  7. สิวข้าวสาร (Milia) การรักษาสิวข้าวสาร กดออก ยาทา เลเซอร์
  8. ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิว ข้อควรรู้ในการดูแลตัวเองเมื่อเป็น… สิว
  9. รักษาสิวที่หลัง สิวที่ลำตัว ทำยังไง ยากิน ยาทา สบู่ ทรีทเมนท์ เลเซอร์

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

ขนคุด ผิวเป็นหนังไก่ (Keratosis Pilaris) คืออะไร รักษายังไงดี

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ ความงาม, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , , , .