โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) คืออะไร การรักษา

โรคผื่นผ้าอ้อม (Nappy rash)

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) คืออะไร การรักษา

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) คืออะไร การรักษา

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis)

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis)

โรคผื่นผ้าอ้อม (Nappy rash หรือ Diaper dermatitis หรือ Diaper rash) คือผื่นที่เกิดจากการระคายเคืองจากการใส่ผ้าอ้อม พบได้บ่อยในทารกวัย 3-18 เดือน ซึ่งใช้ผ้าอ้อมเป็นประจำ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัยที่มีการใช้ผ้าอ้อมเป็นประจำ เช่น ในผู้สูงอายุที่ใช้ผ้าอ้อม

โรคผื่นผ้าอ้อม เกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบได้บ่อย ที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ผ้าอ้อม ได้แก่

  1. ความอับชื้น เปียกชื้น จาก เหงื่อ อุจจาระ และปัสสาวะ ที่หมักหมมอยู่ในผ้าอ้อม
  2. การระคายเคืองของผิวหนัง จากการเสียดสีกับผ้าอ้อม
  3. การระคายเคืองของผิวหนัง จากการสัมผัสกับ อุจจาระ และปัสสาวะ ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน
  4. การแพ้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าอ้อมที่ตกค้างในผ้าอ้อม ที่อาจก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังได้
  5. แพ้สารในผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมชนิดนั้นๆ

     โดยสรุปผื่นผ้าอ้อมเกิดจากการที่ผิวหนังเปียกชื้น แล้วสัมผัสกับปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานาน จนทำให้ผิวหนังมีความเป็นด่าง และเกิดการระคายเคือง จนผิวหนังเป็นผื่นแดง เปื่อยเป็นแผล และอาจติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อน ทารกที่กินนมผงจะมีอุจจาระเป็นด่าง ทำให้มีโอกาสเกิดผื่นได้ง่ายกว่าทารกที่กินนมแม่ ซึ่งมีอุจจาระเป็นกรดช่วยทำให้เอ็นไซม์ต่างๆ เช่น เอนไซม์ย่อยโปรตีน (protease) เอนไซม์ย่อยไขมัน (lipase) และกรดน้ำดี (bile acid) ที่มีในอุจจาระ ก่อการระคายเคืองได้น้อยลง จึงมีโอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อมน้อยกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามทารกที่กินนมแม่ก็ยังสามารถเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ ถ้าหากมีการใช้ผ้าอ้อมเป็นประจำ และดูแลผิวหนังบริเวณนั้นอย่างไม่ถูกต้อง

โรคผื่นผ้าอ้อม มีอาการอย่างไร

อาการที่พบได้บ่อยของโรคผื่นผ้าอ้อม ได้แก่

  • อาการผื่นนูนแดงบริเวณที่มีการกดทับหรือเสียดสีกับผ้าอ้อมบ่อยๆ เช่น อวัยวะเพศ ก้น ต้นขาด้านใน และท้องน้อย
  • อาการผื่นแดงเป็นปื้น เห็นเป็นรอยถลอก และมีสะเก็ดบริเวณผื่น
  • หากเป็นรุนแรงขึ้นอาจพบ ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ผื่นแดงจัด คล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวกบริเวณผิวหนังใต้ผ้าอ้อม ทำให้ทารกรู้สึก แสบ คัน และไม่สบายตัว

การวินิจฉัยโรคผื่นผ้าอ้อม

โดยทั่วไป แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จาก การสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจลักษณะผื่นที่ผิวหนัง กรณีที่สงสัยการติดเชื้อร่วมด้วย อาจต้องทำการส่งตรวจ เชื้อรา และ/หรือเชื้อแบคทีเรีย

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) คืออะไร อาการเป็นอย่างไร รักษายังไงดี

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis)

การรักษาโรคผื่นผ้าอ้อม

แนวทางการรักษาโรคผื่นผ้าอ้อม คือ

  1. ถ้าผิวหนังมีการอักเสบมาก อาจต้องใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ชนิดอ่อนๆ ทาในระยะเวลาสั้นๆ (เช่น ไม่เกิน 1 สัปดาห์) เพื่อลดการอักเสบของผื่นผ้าอ้อม
  2. หลังทำความสะอาดผิวหนังบริเวณผ้าอ้อมทุกครั้ง ให้ทาผิวบริเวณผ้าอ้อมด้วยครีม/ขี้ผึ้ง เช่น ขี้ผึ้ง Petrolatum jelly หรือครีม ที่มีส่วนประกอบของ Zinc oxide เพื่อเคลือบผิวเพื่อลดการระคายเคือง

การพยากรณ์ของโรคผื่นผ้าอ้อม

โรคผื่นผ้าอ้อมมีการพยากรณ์โรคที่ดีมาก อาการต่างๆจะดีขึ้น เมื่อกำจัดปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดความอับชื้นออกไปได้

การดูแลและป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อม

  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ เมื่อผ้าอ้อมเต็มหรือใกล้เต็ม อย่าให้ผิวหนังอับชื้น
  • ดูแลผิวหนังที่อยู่ใต้ผ้าอ้อมให้แห้งเสมอ
  • ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบ และอวัยวะเพศของลูก เพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้น จนกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆแฉะๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา สามารถเกิดอาการระคายเคือง และเกิดเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ง่ายขึ้น
  • อย่าใส่ผ้าอ้อมที่คับแน่นจนเกินไป
  • ถ้ายังเป็นซ้ำ อาจต้องลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อม
  • เลือกผ้าอ้อมชนิดที่ระบายอากาศได้ดี
  • ไม่ควรใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา ควรมีช่วงเวลาพักการใส่ผ้าอ้อม ให้ผิวได้ลดความอับชื้น
  • ควรทำความสะอาดผิวหนังใต้ผ้าอ้อมทุกครั้งหลัง อุจจาระ ปัสสาวะ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะความชื้น และเอนไซม์ใน อุจจาระ ปัสสาวะ จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิว
  • ซักเสื้อผ้าให้สะอาด อย่าให้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าตกค้าง
  • เลือกผลิตภัณฑ์ซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มที่อ่อนโยนต่อผิว
  • ใช้สบู่เหลวและแป้งที่อ่อนโยนต่อผิวใต้ผ้าอ้อม

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

ควรพาลูกไปพบแพทย์ หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือเมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น มีตุ่มหนอง หรือมีผื่นแดงคันเป็นขุยเนื่องจากติดเชื้อรา

โรคผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) คืออะไร การรักษา

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆

บทความโรคผิวหนังเด็ก โรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก


ติดต่อเรา ✿

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอลซีคลินิกทุกสาขา

Facebook : LC Clinic

Line id : lcclinic

Website : www.lcclinics.com

แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ความงาม เลเซอร์

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , .