โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร สาเหตุ การรักษา

โรคลมพิษเรื้อรัง

โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมพิษเรื้องรัง (Chronic urticaria)

โรคลมพิษ คืออะไร

โรคลมพิษ คือ โรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง คันมาก ไม่มีขุย ผื่นลมพิษมักเกิดขึ้นเร็ว และกระจายไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ผื่นมักจะสามารถยุบเองได้ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ก็สามารถมีผื่นลมพิษใหม่ขึ้นได้เช่นเดียวกัน

โรคลมพิษ แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด

โรคลมพิษโดยส่วนใหญ่ จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ โรคลมพิษเฉียบพลัน และลมพิษเรื้อรัง

  • โรคลมพิษเฉียบพลันคือ โรคลมพิษที่มีอาการเป็นๆหายๆ ติดต่อกันมานานไม่เกิน 6 สัปดาห์
  • โรคลมพิษเรื้อรังคือ โรคลมพิษที่มีอาการเป็นๆหายๆ ต่อเนื่องกันมานานเกิน 6 สัปดาห์

โรคลมพิษเรื้อรัง คืออะไร

โรคลมพิษเรื้อรังคือ โรคลมพิษที่มีอาการลมพิษเป็นๆหายๆ ต่อเนื่องกันนานตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่โรคลมพิษเรื้อรังมักไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่อาการลมพิษที่ขึ้น จะทำให้เกิดการคัน รำคาญ และไม่สบายตัวมากๆได้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการนอนหลับของผู้ที่เป็นได้ โดยทั่วไปโรคลมพิษเรื้อรัง มักจะเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง และในคนไข้รายเดียวกัน อาจจะมีหลายสาเหตุร่วมด้วยได้

สาเหตุของโรคลมพิษเรื้อรัง

โรคลมพิษเรื้อรังมีสาเหตุที่กระตุ้นให้โรคนี้กำเริบได้หลากหลายอย่าง ซึ่งแตกต่างจากโรคลมพิษเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก อาหาร ยา และการติดเชื้อในร่างกาย โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้ผื่นลมพิษเรื้อรังกำเริบขึ้นได้ ได้แก่

  1. อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหาร และของหมักดอง
  2. ยา โดยส่วนใหญ่ลมพิษที่เกิดขึ้นจากยา จะมีสาเหตุมาจากการแพ้ยาตัวนั้นๆ
  3. การติดเชื้อ เช่น การติดเขื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และพยาธิ โดยเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสูร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และทางผิวหนัง
  4. โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคธัยรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ เป็นได้ทั้งธัยรอยด์ต่ำและสูงผิดปกติ
  5. การกระตุ้นจากทางกายภาพ เช่น ผู้ป่วยบางรายจะมีผื่นลมพิษขึ้น จากปฏิกริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น การกดทับ แสงแดด และการออกกำลังกาย เป็นต้น
  6. การแพ้ การแพ้สารสัมผัส จะทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น เช่น การแพ้ยาง แพ้ถุงมือยาง ขนสัตว์ ไรฝุ่น พื่ช สัตว์ และอาหารบางชนิด
  7. การแพ้พิษแมลง พิษจากแมลงบางชนิด ทำให้เกิดผื่นลมพิษได้ เช่น ผึ่งต่อย ต่อต่อย เป็นต้น
  8. เนื้องอกและมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  9. โรคแพ้ภูมิตัวเอง ลมพิษในคนไข้บางรายเกิดจากปฏิกริยาของภูมิคุ้มกัน ไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารบางชนิดออกมา กระตุ้นลมพิษที่ผิวหนัง
  10. อื่นๆ เช่น โรคพุ่มพวง โรคเส้นเลือดอักเสบ
โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

สาเหตุของโรคลมพิษ

โรคลมพิษเรื้อรัง มีอาการอย่างไร

อาการของโรคลมพิษเรื้อรัง จะมีผื่นลมพิษเป็นลักษณะปื้นนูนแดง คัน ไม่มีขุย มีขอบเขตชัดเจน มีขนาดตั้งแต่เล็กไปใหญ่ ผื่นมักเกิดขึ้นเร็ว และกระจายลามไปทั่วตัว แขน ขา ใบหน้า รอบดวงตา ปาก รูปร่างของผื่นมีได้หลายแบบทั้งเป็นวงกลม รี วงแหวน วงแหวนหลายๆวงมาต่อกัน เป็นเส้นๆ หรือเป็นรูปแผนที่ ในคนไข้บางรายอาจจะมีอาการปากบวม ตาบวมร่วมด้วย ที่เรียกว่า Angioedema

โรคลมพิษเรื้อรังจะแยกกับลมพิษเฉียบพลันที่ โรคลมพิษเรื้อรังจะมีอาการลมพิษเป็นๆหายๆ ต่อเนื่องกันมานานตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป

การวินิจฉัยโรคลมพิษเรื้อรัง

โรคลมพิษเรื้อรังสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติของผื่น ระยะเวลาในการเกิดผื่น และปัจจัยในการกระตุ้นผื่น ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะผื่นว่าเข้าได้กับอาการลมพิษ ในกรณีที่คนไข้ไม่มีผื่นขึ้นให้เห็น ก็สามารถดูจากรูปถ่ายตอนที่คนไข้มีผื่นขึ้นได้ สิ่งที่ยากในโรคนี้คือการหาสาเหตุ และปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผื่นลมพิษกำเริบ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ เอกซเรย์ หรือการตัดชิ้นเนื้อ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ต่อคนไข้เป็นรายๆไป

การรักษา โรคลมพิษเรื้อรัง

  1. พยายามหาสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษ เพื่อช่วยลดการเกิดผื่นและลดความถี่ในการเกิดผื่นลง ถ้าเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษา ก็ควรรักษาโรคเหล่านั้นด้วย
  2. การให้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ ในคนไข้โรคลมพิษเรื้อรังทุกรายควรได้รับยาต้านฮีสตามีน เพื่อช่วยรักษาและควบคุมอาการของโรค ยาต้านฮีสตามีนมีด้วยกันหลายชนิดและหลายกลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวและชนิดที่ออกฤทธิ์สั้น ทั้งชนิดที่ทำให้ง่วงมาก ง่วงน้อย และไม่ง่วง การเลือกใช้ยาต้านฮีสตามีนในคนไข้กลุ่มนี้ จำเป็นต้องได้รับยาในระยะยาว และต้องมีการปรับยาเป็นระยะ หรือให้ร่วมกับยากลุ่มอื่น จึงควรได้รับการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์
  3. การให้ยาในกลุ่มอื่นๆ ในคนไข้โรคลมพิษเรื้อรังที่มีอาการมาก หรือได้รับยาต้านฮีสตามีนแล้ว ยังมีผื่นลมพิษขึ้นอยู่เยอะ แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยากลุ่มอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการรักษา โดยจะเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารสื่อกลางที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษที่ผิวหนัง

คำแนะนำสำหรับโรคลมพิษเรื้อรัง

  • หลีกเลี่ยงสาเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้ผื่นลมพิษกำเริบ
  • ทานยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดทานยาด้วยตัวเอง
  • ถ้าทานยาแล้วรู้สึกว่ามีอาการง่วงซึม ทำงานลำบาก สามารถแจ้งแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ไม่เครียด
  • พยายามไม่แกะหรือเกาที่ผิวหนัง
  • ถ้าเกิดผื่นลมพิษกำเริบขึ้นรุนแรง มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

โรคลมพิษเรื้อรัง เป็นแล้วต้องรักษานานแค่ไหน

ในคนไข้ที่เป็นโรคลมพิษเรื้อรัง จะมีการซักประวัติและตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้ลมพิษกำเริบ ถ้าหาสาเหตุเจอและแก้ไขได้ เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง ผื่นลมพิษมักจะหายได้

ในกรณีที่หาสาเหตุไม่พบ หรือมีหลายสาเหตุร่วมกัน ที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย ลมพิษที่เกิดขึ้นมักจะเป็นเรื้อรัง ต้องใช้ยาร่วมกันหลายตัวในการรักษาโรค เมื่อสามารถควบคุมโรคได้แล้ว แพทย์จะค่อยๆลดยาลง และส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้หลังการรักษาประมาณ 1 ปี แต่ในคนไข้บางรายโรคลมพิษเรื้อรัง อาจจะไม่หายสนิท และต้องทานยาเพื่อรักษาโรคติดต่อกันในระยะยาว

โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

หมอชิน แพทย์ผิวหนัง แอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

  • www.uptodate.com
  • Siriraj E-public
  • เอกสารแผ่นพับเรื่องโรคลมพิษ จากสถาบันโรคผิวหนัง

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

  1. โรคลมพิษ (Urticaria) คืออะไร สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน
  2. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
  3. โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดีน่า
  4. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
  5. ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
  6. แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร
  7. ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , .