สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง
9 สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง ที่พบกันได้บ่อยๆ
สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง
ปัญหาผมร่วง-ผมบาง ถือเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายๆคน เพราะทำให้ขาดความมั่นใจ ขาดบุคลิกภาพ ทำให้เกิดความเครียด และไม่กล้าเข้าสังคม นอกจากนี้ปัญหาผมร่วงในบางราย ยังอาจเป็นสัญญาณของโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย บทความนี้จึงตั้งใจเขียนถึงสาเหตุของปัญหาผมร่วงที่พบได้บ่อยๆในคนทั่วไป และในชีวิตประจำวัน “9 สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง ที่พบกันได้บ่อยๆ“
1. พันธุกรรม โรคผมบางแบบพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia)
โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในคนที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน เนื่องจากในร่างกายของคนเราจะมีฮอร์โมนเพศชื่อ DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง (แต่ก็พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง) ฮอร์โมนตัวนี้จะมีผลต่อเรื่องของเส้นผม เมื่ออายุคนเราเพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้จะออกฤทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เส้นผมร่วงเร็วกว่าปกติ ไม่ค่อยงอก และเมื่อรากผมผลิตผมเส้นใหม่ๆ ก็จะได้ผมที่สั้นและบางลงกว่าเดิม
โดยในผู้ชายบริเวณที่ผมเริ่มร่วงและบางก่อน ได้แก่ ขมับทั้ง 2 ข้าง และตรงกลางกระหม่อม ส่วนในผู้หญิงจะเริ่มบางบริเวณที่แสกผมกลางศีรษะ จากนั้นก็จะลามไปส่วนอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ ในผู้ชายมักเริ่มมีอาการเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ส่วนในผู้หญิงมักมีอาการเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
2. ความผิดปกติของฮอร์โมน
ความผิดปกติของฮอร์โมนมีหลายชนิด ที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง-ผมบางได้ ยกตัวอย่างเช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน โดยไทรอยด์ฮอร์โมนทั้งแบบชนิดฮอร์โมนต่ำ และชนิดฮอร์โมนสูง สามารถเป็นสาเหตุของผมร่วง-ผมบางได้ ทั้งแบบผมร่วงทั่วๆศีรษะ และแบบผมร่วงเป็นหย่อม
นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำให้เกิดผมร่วงที่บริเวณหนังศีรษะ (แต่ไปกระตุ้นการเจริญของขนที่บริเวณใบหน้าและลำตัวให้เพิ่มมากขึ้น)
3. การดึงผมหรือการถอนผม
เป็นความผิดปกติทางจิตวิทยาชนิดหนึ่ง มักพบในเด็กที่มีความกดดันทางจิต เช่น ถูกกดดันจากครอบครัวเรื่องการเรียน บางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย ผมบริเวณที่ถูกถอนมากๆ จะแหว่งและเหลือเป็นตอสั้นๆ บริเวณที่ผมบางก็จะเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการดึงผมหรือถอนผมนั่นเอง
4. การลดน้ำหนัก หรือการขาดสารอาหาร
การลดน้ำหนัก หรือการขาดสารอาหาร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ไม่ถูกสุขลักษณะ ถืิอเป็นการลดน้ำหนักที่ผิดวิธี แต่ละวันควรเน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนจากถั่วเหลือง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดอาหารที่ใส่ผงชูรส งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการใช้ยาลดน้ำหนัก ซึ่งในยาลดน้ำหนักบางตัว จะมีส่วนผสมของไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่อรับประทานเข้าไปจะไปทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความแปรปรวน และทำให้เกิดปัญหาผมร่วงตามมาได้
5. ความเครียด หรือภาวะหลังคลอดบุตร
ในบางเวลาร่างกายอาจเผชิญสภาวะบางอย่างซึ่งทำให้ผมหยุดงอก และหลุดร่วงก่อนหมดอายุขัย เช่น ภาวะเครียด ภาวะพักฟื้นหลังรับการผ่าตัดใหญ่ หรือหลังคลอดบุตร ซึ่งจะทำให้เกิดอาการผมร่วงทั่วๆศีรษะ โดยทั่วไปอาการนี้มักเกิดขึ้นประมาณ 1-3 เดือน แล้วจะค่อยๆกลับมาเป็นปกติ
9 สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง ที่พบกันได้บ่อยๆ
6. การติดเชื้อที่เส้นผม หรือหนังศีรษะ
การติดเชื้อที่เส้นผมและหนังศีรษะ สามารถพบได้ทั้งการติดเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ทั้งคู่
การติดเชื้อรามักจะพบในเด็ก เด็กจะมาด้วยติดเชื้อราหรือกลากบนหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะเป็นผื่นแดง มีอาการคัน เป็นขุยคล้ายรังแค และตกสะเก็ดได้
ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดการอักเสบของรูขุมขน (folliculitis) ทำให้เกิดผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ มีการอักเสบ เป็นหนอง และเกิดผมร่วงตามมาได้เช่นกัน
7. การทำสีผม หรือใช้สารเคมีกับเส้นผม
การย้อมสีผม ม้วนผม ดัดผม ยืดผม และเป่าผมด้วยความร้อนเป็นประจำ ตลอดจนการใช้สารเคมีกับเส้นผมชนิดต่างๆ อาจทำให้ผมแห้งเสีย เปราะหัก หรือหนังศีรษะเกิดการอักเสบจากการระคายเคือง การเกิดผื่นแพ้สัมผัสที่หนังศีรษะ จึงทำให้ผมร่วงในที่สุด
8. การอักเสบของหนังศีรษะ
โรคผิวหนังบางชนิด ทำให้เกิดการอักเสบที่หนังศีรษะ (Scalp Inflammation) ภาวะใดก็ตามที่ทำให้เกิดการอักเสบของหนังศีรษะ เช่น ผื่นแพ้สัมผัส, ผิวหนังอักเสบ ผื่นจากโรคเซบเดิร์ม, โรคสะเก็ดเงิน สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้ โดยมักจะพบว่ามีผื่นแดงเป็นขุยที่ผิวหนังบริเวณหย่อมที่ผมร่วงร่วมด้วย
9. การใช้ยาบางชนิด
การใช้ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงได้ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง, ยาป้องกันเลือดแข็งตัว, ยารักษาโรคไทรอยด์, ยาคุมกำเนิด, ยารักษาโรคเกาต์ ฯลฯ รวมถึงการฉายรังสีรักษามะเร็ง ก็พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน
9 สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง ที่พบกันได้บ่อยๆ
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- Hair Loss. https://www.uptodate.com/
- http://haamor.com/th/อาการผมร่วง
- http://siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/alopecia_telogen
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง-ผมบาง ความงาม เลเซอร์ และผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
◆ บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ ฟิลเลอร์ และการปรับรูปหน้า
- บทความเสริมจมูก เสริมคาง และการผ่าตัดเล็ก
★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★
*.:。 ✿*゚ค่าบริการรักษา ผมร่วง ผมบาง ที่แอลซีคลินิก*.:。 ✿*゚
- ค่ายารักษาผมร่วง-ผมบาง 300-500 บาทต่อเดือน
- ค่าซีรั่มปลูกผม (Intensive Hair serum) ขวดเล็ก 10 ml 150 บาท , ขวดใหญ่ 30 ml 400 บาท
- ค่าแชมพูสำหรับ ผมร่วง ผมบาง และผมเสียจากการทำสีผม ขวดเล็ก 100 ml 150 บาท , ขวดใหญ่ 200 ml 240 บาท
- ค่าครีมนวดผมสำหรับ ผมร่วง ผมบาง และผมเสียจากการทำสีผม ขวดใหญ่ 170 ml 240 บาท
✿ ติดต่อเรา ✿
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอลซีคลินิกทุกสาขา
Facebook : LC Clinic
Line id : lcclinic
Website : www.lcclinics.com
แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ความงาม เลเซอร์