แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

โรคแผลเป็นนูน (Keloid)

แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์ (Keloid Scar)

แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

โรคแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ (Keloid) คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อพังผืดเจริญเกินปกติ เห็นเป็นลักษณะแผลเป็นนูนหนา ในบริเวณผิวหนังที่เคยเกิดบาดแผลมาก่อน โดยแผลเป็นชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่บาดแผลเหล่านั้นหายแล้ว โดยมีลักษณะเด่นคือ ขนาดของแผลเป็นนูนคีลอยด์ จะกว้างกว่าแผลเดิมตอนเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแผลเป็นนูนชนิดนี้อาจเกิดหลังจากแผลหายเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน แต่บางคนอาจนานเป็นปีก็ได้

แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ พบได้ในใครบ้าง

  • พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
  • มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก (โดยวัยที่พบได้บ่อยที่สุด คือวัยหนุ่ม-สาว)
  • คนผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้บ่อย และรุนแรงกว่าคนผิวขาว
  • ผู้ที่มีประวัติแผลเป็นนูนในครอบครัว จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ

ผิวส่วนไหนมีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่าย

ผิวหนังทุกส่วนมีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ทั้งหมด แต่บริเวณที่พบบ่อยได้แก่

  • บริเวณหน้าอกส่วนบน
  • บริเวณหัวไหล่
  • และบริเวณด้านหลังส่วนบน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูนได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดแผลเป็นนูนได้ง่าย ได้แก่

  1. กรรมพันธ์ โดยพบว่าคนที่มีคนในครอบครัวเป็นแผลเป็นนูน มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่าคนปกติ และในคนที่เคยเป็นแผลเป็นนูนมาก่อน มักเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายเมื่อมีบาดแผลต่างๆเกิดขึ้น
  2. เชื้อชาติ โดยพบว่าคนเชื้อชาติจีน และคนผิวดำ มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่าคนผิวขาว
  3. อายุ โดยอายุที่พบแผลเป็นนูนได้มากที่สุดคือ วัยหนุ่ม-สาว ส่วนในวัยเด็กและผู้สูงอายุ จะพบน้อยกว่า
  4. สาเหตุของแผล แผลจากไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนสูงกว่าบาดแผลชนิดอื่นๆ
  5. บาดแผลที่หายช้า เกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้สูงขึ้น
การเกิดแผลเป็นชนิดต่างๆ แผลเป็นหลุม แผลเป็นนูน

การเกิดแผลเป็นชนิดต่างๆ แผลเป็นหลุม แผลเป็นนูน

แผลเป็นนูนมีกี่แบบ

แผลเป็นนูน มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ แผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล หรือที่เรียกว่าแผลเป็นคีลอยด์ และแผลเป็นชนิดที่เกิดเฉพาะบนตัวแผล

1.แผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล หรือแผลเป็นคีลอยด์ (Keloid Scar) 

แผลเป็นนูนชนิดนี้ ตัวแผลมักนูนเหนือผิวหนัง ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป มักเกิดหลังจากที่แผลหายแล้วอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป แผลเป็นจะค่อยๆลุกลามออกไปนอกตัวแผล และขยายขนาดออกไปเรื่อยๆ โดยจะไม่ยุบหายไปเอง บริเวณที่พบบ่อย คือ หน้าอกส่วนบน หัวไหล่ หลัง ต้นแขน และใบหู

2.แผลเป็นนูนชนิดที่เกิดเฉพาะบนตัวแผล (Hypertrophic Scar) 

แผลเป็นนูนชนิดนี้จะเกิดขึ้นเร็ว มักเกิดภายใน 1 เดือนหลังจากแผลหาย แผลเป็นชนิดนี้มักจะค่อยๆยุบตัวจนแบนราบลง เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี และสามารถเกิดได้กับคนทุกเชื้อชาติ ทุกผิวสี บริเวณที่พบบ่อย แผลเป็นชนิดนี้สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่จะพบได้บ่อยเมื่อเกิดแผลในบริเวณข้อพับ

แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

การผ่าตัดรักษาแผลเป็นนูน (ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละบุคคล)

การรักษาโรคแผลเป็นนูน หรือแผลเป็นคีลอยด์

วิธีการรักษาแผลเป็นนูนมีด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งที่เป็น วิธีการรักษาที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่

  1. การใช้ยาทารักษาแผลเป็น เช่น ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ยาทาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ และยาทาที่มีส่วนประกอบของซิลิโคน ใช้ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดเล็กและพึ่งเป็นไม่นานนัก หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
  2. การใช้แผ่นซิลิโคนเจลปิดบริเวณแผลเป็น สำหรับแผลเป็นที่เป็นใหม่ๆ เพื่อช่วยลดการขยายตัวของแผลเป็นนูน
  3. การฉีดยาเข้าที่บริเวณแผลเป็น เพื่อให้แผลเป็นยุบลง แต่อาจจะต้องฉีดหลายครั้ง เพื่อให้แผลเรียบและยุบลงดี
  4. การผ่าตัด เพื่อเอาแผลเป็นเก่าออก แล้วทำการเย็บแผลใหม่อีกครั้ง ซึ่งใช้ได้กับแผลเป็นบางชนิดเท่านั้น และควรทำกับแผลเป็นที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ไม่ใช่แผลเป็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่

ทั้งนี้การจะเลือกใช้วิธีรักษาอย่างไร แพทย์จะพิจารณาจากขนาดแผลเป็น บริเวณที่เกิดแผล และความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาในเรื่องของความต้องการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ในแต่ละเคสอีกด้วย

แผลเป็นนูนรักษาได้หายขาดไหม

โรคแผลเป็นนูน โดยเฉพาะแผลเป็นนูนแบบคีลอยด์ เป็นโรคที่รักษาได้ยากมากๆ ต้องใช้วิธีการรักษาร่วมกันหลายๆวิธี และต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา เพื่อให้โอกาสในการกลับมาเป็นแผลเป็นนูนซ้ำลดต่ำลง

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นนูน

วิธีการป้องกันแผลเป็นนูนที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผล และแจ้งแพทย์ผู้เกี่ยวข้องเสมอ ถึงประวัติการเคยเป็นแผลเป็นนูนเมื่อต้องมีการผ่าตัด เพราะแพทย์อาจจะให้การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนตั้งแต่ขณะผ่าตัด ด้วยเทคนิคการเย็บแผล การปิดแผล และการใช้ยาทาแผล

เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าแผลเป็นนูนเป็นโรคที่รักษายาก ดังนั้นเมื่อมีการผ่าตัดควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะผ่าตัด และเมื่อเกิดแผลเป็นนูนแล้ว ควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อทำการรักษา เพราะจะช่วยให้การรักษาได้ผลดี และแผลเป็นนูนยังมีขนาดเล็กอีกด้วย

แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

บทความที่ใกล้เคียง

บทความด้าน สิว ฝ้า กระ และการลดรอยดำ

บทความ ด้านเลเซอร์ : CO2 laser , Q-Switch laser , IPL

บทความ การปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์ (Filler) และร้อยไหม (Thread lift)

และฝากติดตามบทความดีๆเพิ่มเติมทั้งหมดได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา ✿

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอลซีคลินิกทุกสาขา

Facebook : LC Clinic

Line id : lcclinic

Website : www.lcclinics.com

แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ความงาม เลเซอร์

Posted in Uncategorized, บทความ, บทความ ความงาม, บทความ ผ่าตัดเล็ก and tagged , , , , , , , , , , , , , .