รักษาแผลเป็นนูน (Keloid)
รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์ ฉีดยา ทายา เลเซอร์ ผ่าตัด โคราช บุรีรัมย์
แผลเป็นนูน (Keloid) คืออะไร
แผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มขึ้นเยอะผิดปกติ เห็นเป็นลักษณะแผลเป็นนูนหนา ในบริเวณผิวหนังที่เคยเกิดบาดแผลมาก่อน โดยแผลเป็นชนิดนี้ มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่บาดแผลเหล่านั้นหายแล้ว โดยมีลักษณะเด่นคือ ขนาดของแผลเป็นนูน จะกว้างกว่าแผลเดิมตอนเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแผลเป็นนูนชนิดนี้อาจเกิดหลังจากแผลหายเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน แต่บางคนอาจนานเป็นปีก็ได้
แผลเป็นนูนมีกี่แบบ
แผลเป็นนูน โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ แผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล หรือที่เรียกว่าแผลเป็นคีลอยด์ และแผลเป็นนูนชนิดที่เกิดเฉพาะบนตัวแผล
1.แผลเป็นคีลอยด์ หรือแผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล (Keloid Scar)
แผลเป็นนูนชนิดนี้ ตัวแผลมักนูนเหนือผิวหนัง ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป มักเกิดหลังจากที่แผลหายแล้วอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป แผลเป็นจะค่อยๆนูนขึ้น ลุกลามออกไปนอกตัวแผล และขยายขนาดออกไปเรื่อยๆ โดยจะไม่ยุบหายไปเอง ถ้าไม่ได้รับการรักษา บริเวณที่มักพบแผลเป็นชนิดนี้บ่อย ได้แก่ หน้าอกส่วนบน หัวไหล่ หลัง ต้นแขน เข่า และใบหู
2.แผลเป็นนูนชนิดที่เกิดเฉพาะบนตัวแผล (Hypertrophic Scar)
แผลเป็นนูนชนิดนี้จะเกิดขึ้นเร็ว โดยทั่วไปมักเริ่มนูนขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากแผลหาย หลังจากนั้นแผลเป็นชนิดนี้มักจะค่อยๆยุบตัว จนแบนราบลง เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี สามารถเกิดได้กับคนทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิว แผลเป็นนูนชนิดนี้สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่จะพบได้บ่อยเมื่อเกิดแผลในบริเวณข้อพับ
การรักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) มีวิธีการอะไรบ้าง
การรักษาแผลเป็นนูน ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การฉีดยา, ยาทาแผลเป็นนูน, แผ่นซิลิโคนแปะแผลเป็นนูน, การยิงเลเซอร์, และการผ่าตัดแผลเป็นนูน โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดของแต่ละวิธีดังนี้
1.การฉีดยา รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์
โดยทั่วไปยาที่ใช้ในการฉีดแผลเป็นนูน จะเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โดยฉีดเข้าไปในบริเวณแผล เพื่อใช้ลดการอักเสบ และลดขนาดของแผลเป็นนูน การรักษาวิธีนี้ แนะนำให้ทำต่อเนื่องทุก 2-4 สัปดาห์ ขึ้นกับการตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยแต่ละราย
2.การใช้ยาทาแผลเป็นนูน
การใช้ยาทารักษาแผลเป็น ในปัจจุบันมีใช้ด้วยกันหลายตัว เช่น ยาทาในกลุ่มที่ช่วยลดการอักเสบ ยาทาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ ยาทาที่มีส่วนประกอบของซิลิโคน และยาทาที่มีส่วนประกองของสารสกัดเซพาลิน มักใช้ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดเล็กและพึ่งเป็นไม่นานนัก แนะนำให้ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
3.การใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลเป็นนูน
แผ่นซิลิโคนที่ใช้นี้จะเป็นแผ่นเจลใสๆที่ทำมาจากซิลิโคน ใช้ปิดบนบาดแผลหลังจากบาดแผลหายดีแล้วประมาณ 7 วัน การปิดด้วยแผ่นซิลิโคนนี้ แนะนำให้ปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาจจะแกะออกได้เวลาอาบน้ำ หรือเปลี่ยนแผ่นใหม่ ใช้เวลาในการแปะนานประมาณ 3 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูน โดยผิวหนังที่อยู่ใต้ซิลิโคนจะมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ช่วยลดการอักเสบ และทำให้การหายของแผลดียิ่งขึ้น
4.การทำทรีตเมนต์ รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์
เป็นการใช้เครื่องผลักวิตามิน ร่วมกับเจลและวิตามินบำรุงผิว ช่วยในการปรับสภาพผิว บำรุงผิว ลดการอักเสบ ของแผลเป็น ทำให้สีของแผลเป็นจางลง และช่วยให้ผิวบริเวณแผลเป็นดีขึ้น
5.การยิงเลเซอร์ รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์
เป็นการใช้เลเซอร์ยิงลงไปที่แผลเป็นนูน ช่วยในการลดรอยแดงของแผลเป็น ช่วยให้เนื้อเยื่อหรือพังพืด เกิดการเรียงตัวเป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยลดการสร้างเส้นเลือดมาเลี้ยงแผลเป็น ทำให้แผลเป็นนูนมีขนาดเล็กลง และช่วยให้สีของแผลเป็นจางลง
6.การผ่าตัด รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์
การรักษาด้วยวิธีนี้ จะเป็นการผ่าตัดเอาแผลเป็นนูนออกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด โดยจะใช้วิธีการผ่าตัดเล็ก ตัดเอาบริเวณที่เป็นแผลเป็นนูนออก แล้วทำการเย็บปิดแผลใหม่เป็นเส้นตรง มักใช้ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดเล็ก หรือไม่ใหญ่มากนัก และหลังผ่าตัดมีเนื้อเยื่อผิวหนังเพียงพอที่จะทำการเย็บปิดแผลได้ บริเวณที่ได้รับความนิยมในการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น แผลเป็นนูนที่หู หรือคีลอยด์ที่หู เป็นต้น
เคล็ดลับการเลือกวิธีในการรักษาแผลเป็นนูน
เนื่องจากแผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ นั้นมีความยากในการรักษาและมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำได้ง่าย การเลือกวิธีในการรักษา จะต้องพิจารณาดูว่าแผลเป็นชนิดนี้ อยู่บริเวณไหน มีขนาดเล็กหรือใหญ่ และมีโอกาสลุกลามใหญ่ขึ้นอีกได้ไหม
- ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดใหญ่และยากต่อการผ่าตัด แนะนำให้รักษาร่วมกันด้วยการยิงเลเซอร์ ฉีดยา และทายารักษาแผลเป็นนูน เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการรักษาร่วมกันจากหลายๆวิธี
- ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดเล็ก จะต้องดูบริเวณที่คนไข้เป็น ถ้าเป็นบริเวณที่ผิวหนังค่อนข้างตึง หรือมีการขยับบ่อย การผ่าตัดอาจจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดี แนะนำให้รักษาด้วยการยิงเลเซอร์ ฉีดยา และทายาดูก่อน
- ในกรณีที่แผลเป็นมีขนาดเล็ก หรือมีขนาดไม่ใหญ่นัก และอยู่ในบริเวณที่สามารถผ่าตัดได้ คนไข้สามารถเลือกวิธีการรักษาได้ทั้งการผ่าตัดแล้วรักษาแผลหลังผ่าตัดให้ดี หรือจะเลือกใช้การยิงเลเซอร์ร่วมกับการฉีดยาและทายาก็ได้
ทั้งนี้การจะเลือกใช้วิธีรักษาอย่างไร แพทย์จะพิจารณาจากขนาดของแผลเป็น บริเวณที่เกิดแผล และความรุนแรงของแผล นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาในเรื่องของความต้องการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ในแต่ละเคสอีกด้วย
แผลเป็นนูนรักษาได้หายขาดไหม
แผลเป็นนูน โดยเฉพาะแผลเป็นนูนแบบคีลอยด์ ถือเป็นโรคที่รักษาได้ยาก ต้องใช้วิธีการรักษาร่วมกันหลายๆวิธี และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และลดโอกาสในการกลับมาเป็นแผลเป็นนูนซ้ำ
รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์ ฉีดยา ทายา ทรีตเมนต์ เลเซอร์ ผ่าตัด โคราช บุรีรัมย์
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร. Dermatology 2020: พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก
- แผลเป็น บทความจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=548
ค่าบริการรักษาแผลเป็นนูนและคีลอยด์
- ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 300 บาท/ครั้ง
- เลเซอร์ + ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 600 บาท/ครั้ง
- ทรีตเมนต์ + ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 600 บาท/ครั้ง
- ผ่าตัด รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 4,000 บาท
- ยาทา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) 250 บาท/หลอด
บทความด้านผ่าตัดเล็ก
- แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร
- คีลอยด์ที่หู คืออะไร ผ่าตัด รักษา คีลอยด์ ที่หู ทำยังไง
- รีวิวการผ่าตัด รักษาแผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)
- การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin Biopsy)
- รีวิวเคสผ่าตัดเล็กติ่งเนื้อที่บริเวณใกล้เปลือกตา
- การถอดยาฝังคุมกำเนิด รับถอดยาฝัง คุมกำเนิด ทุกชนิด
- กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ไฝ (Nevus) คืออะไร รักษา กำจัดได้ด้วยเลเซอร์ จี้ไฟฟ้า และผ่าตัดเล็ก
- เลเซอร์ ผ่าตัดเล็ก จี้ กำจัด ไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนัง
- หูด (Wart) สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคหูดที่ผิวหนัง
- การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง เล็บ และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com