จี้เย็นคีลอยด์ จี้เย็นแผลเป็น Cryotherapy คืออะไร มีเทคนิคการทำยังไง

จี้เย็นคีลอยด์ (Cryotherapy)

จี้เย็นคีลอยด์ จี้เย็นแผลเป็น Cryotherapy คืออะไร มีเทคนิคการทำยังไง การดูแลตัวเองหลังจี้เย็น

จี้เย็นคีลอยด์ จี้เย็นแผลเป็น Cryotherapy คืออะไร มีเทคนิคการทำยังไง การดูแลตัวเองหลังจี้เย็น

จี้เย็น รักษาแผลเป็น (Cryotherapy)

คีลอยด์ แผลเป็นคีลอยด์ คืออะไร

คีลอยด์ หรือแผลเป็นคีลอยด์ คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อพังผืดเตฺบโตขึ้นเยอะผิดปกติ เห็นเป็นลักษณะแผลเป็นนูนหนา โดยส่วนใหญ่จะเกิดคีลอยด์ขึ้นในบริเวณผิวหนังที่เคยเกิดบาดแผลมาก่อน แผลเป็นชนิดนี้ มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่บาดแผลเหล่านั้นหายแล้ว โดยมีลักษณะเด่นคือ ขนาดของแผลเป็นคีลอยด์ จะนูนใหญ่ มีขอบเขตกว้างกว่าแผลเดิมตอนเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์นี้อาจเกิดหลังจากแผลหายเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน แต่บางคนอาจนานเป็นปีก็ได้

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ มีวิธีการอะไรบ้าง

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยกันหลายวิธี และสามารถทำหลายวิธีร่วมกันในการรักษาแต่ละครั้งได้ โดยการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ มีดังนี้

  1. การฉีดยารักษาคีลอยด์
  2. การใช้ยาทารักษาแผลเป็น
  3. การใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลเป็นนูน
  4. การทำทรีตเมนท์
  5. การทำเลเซอร์
  6. การจี้เย็น
  7. การผ่าตัดคีลอยด์

จี้เย็นคีลอยด์ (Cryotherapy) คืออะไร

การจี้เย็นคีลอยด์ หรือการจี้เย็นแผลเป็นนูน คือ การใช้ความเย็นจัดจากไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen cryotherapy) อุณหภูมิ -196 องศา จี้หรือพ่นลงไปที่บริเวณแผลเป็นคีลอยด์ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อของเซลล์คีลอยด์ และเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่มาเลี้ยงเซลล์แผลเป็น ทำให้ก้อนคีลอยด์ยุบลง

วิธีการนี้สามารถใช้ได้ทั้งแผลเป็นคีลอยด์ขนาดเล็ก ไปจนถึงแผลเป็นคีลอยด์ขนาดใหญ่ โดยระหว่างที่จี้เย็นจะรู้สึกเจ็บหรือแสบได้ ถ้าแผลมีขนาดใหญ่จะแนะนำให้แปะยาชาก่อนที่จะทำ หลังทำอาจจะมีผิวคีลอยด์บวมแดง หรือถุงน้ำเกิดขึ้นได้ จากนั้นคีลอยด์จะค่อยๆลอกหลุดออกมาเอง หลังจากการจี้ไปประมาณ 1-3 สัปดาห์

เทคนิคการจี้เย็นรักษาคีลอยด์

การจี้เย็นหรือพ่นเย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen cryotherapy) เป็นวิธีการรักษาคีลอยด์โดยใช้ความเย็น อุณหภูมิ -196 องศา เพื่อมาทำลายเนื้อเยื่อของเซลล์แผลเป็นคีลอยด์ และเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่มาเลี้ยงเซลล์แผลเป็น โดยวิธีการทำมีดังนี้

  1. เช็ดทำความสะอาดแผลเป็นคีลอยด์และบริเวณรอบๆ
  2. แปะยาชาบริเวณคีลอยด์ที่จะทำการจี้เย็น ประมาณ 45 นาที
  3. เช็ดยาชาออก ทำความสะอาด และเริ่มทำการจี้เย็น
  4. ใช้วิธีการจี้เย็น หรือใช้เครื่องพ่นความเย็น (Cryogun) จี้ลงไปที่บริเวณคีลอยด์นานประมาณ 5-30 วินาที ขึ้นกับความหนาของคีลอยด์ หลังจากที่จี้เย็นจะเห็นผิวของคีลอยด์ขึ้นเป็นฝ้าขาว และเป็นสะเก็ดน้ำแข็ง จากนั้นฝ้าขาวจะจางลง
  5. หลังทำหรือหลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์ อาจจะรู้สึกปวดหรือแสบบริเวณที่จี้เย็น สามารถทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการปวดได้
  6. หลังการจี้เย็น บริเวณแผลเป็นคีลอยด์ที่ทำการรักษา อาจจะมีอาการบวมแดง หรือขึ้นเป็นถุงน้ำพองได้ บางรายอาจมีเป็นถุงน้ำที่มีเลือดปนได้ โดยส่วนใหญ่ถุงน้ำเหล่านี้จะค่อยๆฝ่อและยุบลงเอง จากนั้นจึงลอกออก ภายใน 1-3 สัปดาห์หลังการจี้เย็น
รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์ ฉีดยา ทายา ทรีตเมนต์ เลเซอร์ ผ่าตัด โคราช บุรีรัมย์

รีวิว รักษา แผลเป็นนูน & คีลอยด์ แอลซีคลินิก

การดูแลตัวเองหลังจี้เย็นรักษาคีลอยด์

  • หลังการจี้เย็น แผลสามารถโดนน้ำและอาบน้ำได้
  • ไม่ควรแกะเกา ถู หรือขัด บริเวณแผลที่ทำการจี้เย็น
  • ถุงน้ำพองที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจี้เย็น ถ้าไม่ตึงหรือกระทบการใช้ชีวิต ไม่จำเป็นต้องเจาะออก ให้รักษาความสะอาดโดยการอาบน้ำ ถูสบู่อ่อนๆได้ตามปกติ ถุงน้ำพองจะค่อยๆฝ่อลงไปเอง
  • ถ้ามียากลับบ้าน ให้กินยา หรือทายา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ในกรณีที่ตุ่มน้ำพองตึง กระทบการใช้ชีวิต หรือแผลมีการอักเสบมาก ให้รีบเข้ามาพบแพทย์

คำแนะนำการเลือกวิธีรักษาแผลเป็นคีลอยด์

เนื่องจากคีลอยด์ หรือแผลเป็นคีลอยด์ นั้นมีความยากในการรักษา และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำได้ง่าย การเลือกวิธีในการรักษา จะต้องพิจารณาดูว่าแผลเป็นชนิดนี้ อยู่บริเวณไหน มีขนาดเล็กหรือใหญ่ และมีโอกาสลุกลามใหญ่ขึ้นอีกได้ไหม

  • ในกรณีที่แผลคีลอยด์มีขนาดใหญ่และยากต่อการผ่าตัด แนะนำให้รักษาร่วมกันด้วยการยิงเลเซอร์ จี้เย็น ฉีดยา และทายารักษาแผลเป็น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการรักษาร่วมกันจากหลายๆวิธี
  • ในกรณีที่แผลคีลอยด์มีขนาดเล็ก จะต้องดูบริเวณที่คนไข้เป็น ถ้าเป็นบริเวณที่ผิวหนังค่อนข้างตึง หรือมีการขยับบ่อย การผ่าตัดอาจจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดี แนะนำให้รักษาด้วยการยิงเลเซอร์ ฉีดยา และทายาดูก่อน
  • ในกรณีที่แผลคีลอยด์มีขนาดเล็ก หรือไม่ใหญ่นัก และอยู่ในบริเวณที่สามารถผ่าตัดได้ คนไข้สามารถเลือกวิธีการรักษาได้ทั้งการผ่าตัดแล้วรักษาแผลหลังผ่าตัดให้ดี หรือจะเลือกใช้การยิงเลเซอร์ร่วมกับการฉีดยาและทายาก็ได้

ทั้งนี้การจะเลือกใช้วิธีรักษาอย่างไร แพทย์จะพิจารณาจากขนาดของแผลเป็น บริเวณที่เกิดแผล และความรุนแรงของแผล นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาในเรื่องของความต้องการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ในแต่ละเคสอีกด้วย

จี้เย็นคีลอยด์ Cryotherapy คืออะไร เทคนิคการทำ การดูแลตัวเองหลังจี้เย็น

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว (แอลซีคลินิก)

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

รักษา แผลเป็นนูน คีลอยด์ ฉีดยา ทายา เลเซอร์ ผ่าตัด โคราช บุรีรัมย์ จี้เย็นคีลอยด์

เลเซอร์+ฉีดยา รักษา แผลเป็นคีลอยด์

ค่าบริการรักษาแผลเป็นนูนและคีลอยด์

  1. ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 300 บาท/ครั้ง
  2. เลเซอร์ + ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 600 บาท/ครั้ง
  3. ทรีตเมนต์ + เลเซอร์/จี้เย็น + ฉีดยา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 900 บาท/ครั้ง
  4. ผ่าตัด รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) เริ่มต้นที่ 4,000 บาท
  5. ยาทา รักษาแผลเป็นนูน (คีลอยด์) 250 บาท/หลอด

บทความการรักษาแผลเป็น แผลเป็นนูน คีลอยด์

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง เล็บ และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

จี้เย็นคีลอยด์ Cryotherapy คืออะไร เทคนิคการทำ การดูแลตัวเองหลังจี้เย็น

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

 

Posted in Uncategorized.