โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคลมพิษ Urticaria

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา ป้องกัน

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา ป้องกัน

ผื่นโรคลมพิษ

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร

โรคลมพิษ คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยๆ เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ โดยจะปรากฏเป็นผื่นบวมนูนสีขาวล้อมด้วยสีแดง โดยผื่นที่ปรากฏนั้นจะมีขนาด และรูปร่างแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา ส่วนขนาดของผื่นมีตั้งแต่เล็กมาก ไปถึงขนาดใหญ่ เกิดผื่นจุดเล็กๆ มารวมกันจนทำให้เกิดเป็นดวงใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการคันมาก หรืออาจรู้สึกแสบในบริเวณที่เป็นผื่น นอกจากนี้ผื่นลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย แม้กระทั่งใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น คอ หรือหู โดยส่วนใหญ่แล้วมักยุบหายเองภายในเวลา 24 ชั่วโมง ผื่นจะค่อยๆจางหายไป

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

โรคลมพิษ (Urticaria) คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

โรคลมพิษ (Urticaria) คืออะไร

ชนิดของโรคลมพิษ

โรคลมพิษแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute Urticaria) โรคลมพิษชนิดนี้เกิดขึ้นมาและหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองภายในเวลา 48 ชั่วโมง หรือในรายที่เป็นนานๆ ก็มักจะเป็นติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์
  2. โรคลมพิษชนิดเรื้อรัง (Chronic Urticaria) อาการของโรคลมพิษชนิดนี้ จะเป็นๆหายๆ โดยมีระยะที่เป็นผื่นต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่ลมพิษชนิดเรื้อรังจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการของลมพิษจะทำให้เกิดความรำคาญหรือความไม่สบายตัวมาก ๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิต หรือการนอนหลับของผู้เป็นลมพิษได้

อาการของโรคลมพิษ

อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เป็นผื่นลักษณะนูนแดง จะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป อาจเกิดขึ้นได้ที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ลำตัว รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจะรู้สึกคันมากและหากเกาก็จะเกิดผื่นแดงลามมากยิ่งขึ้นไปอีก

สาเหตุของโรคลมพิษ

โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการลมพิษที่พบบ่อย ได้แก่

  • สาเหตุทางกายภาพ (physical) ได้แก่ ความเย็น ความร้อน แสงแดด การสั่นสะเทือน การกดทับ การขูดขีดที่ผิวหนัง
  • การออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเล่นเทนนิส
  • ารสัมผัสสารบางอย่าง เช่น ยาง เนื้อดิบ ปลา พืชผักบางชนิด
  • การสัมผัส หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • การที่อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เช่น จากการออกกำลังกาย
  • การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล หรือ อาหารหมักดอง
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • การป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ (โรคไทรอยด์) โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคพยาธิ หรือโรคติดเชื้อบางชนิด
  • และสุดท้ายที่พบได้บ่อย คือหาสาเหตุไม่พบ

การวินิจฉัยโรคลมพิษ

แพทย์จะใช้วิธีซักประวัติอาการโดยละเอียด เช่น การแพ้สิ่งต่างๆ โรคประจำตัว ยาที่ทานประจำ และทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ และปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดลมพิษ ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจหรือทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด และการตรวจหาภาวะการแพ้ต่างๆ

การรักษาโรคลมพิษ

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้หรือสงสัยว่าจะแพ้
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะมีผลกับภาวะภูมิคุ้มกัน เช่น ภาวะเครียด นอนดึก และการดื่มสุรา
  3. ผู้ที่เป็นลมพิษเรื้อรังให้หลีกเลี่ยงการรับประทานยา aspirin ยาลดความดันกลุ่ม ACEi

การรักษาด้วยยาในผู้ป่วยลมพิษ

  • เริ่มต้นด้วยการใช้ยาในกลุ่ม H1-antihistamines
  • หากให้ยาในกลุ่มแรกไม่ได้ผล พิจารณาให้เป็นยากลุ่ม H2-antihistamine, Tricyclic antidepressant
  • หากยังไม่ได้ผล อาจจะพิจารณาให้ยาในกลุ่มอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ยากลุ่ม steroid, ยากลุ่ม Montelukast
  • การใช้ยาฉีดแก้แพ้ในผู้ป่วยลมพิษเฉียบพลัน เช่น chlorpheniramine, diphenhydramine เป็นต้น
  • ในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลันและรุนแรง อาจพิจารณาให้การฉีดยากลุ่ม steroid
  • และสุดท้ายในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงมาก และมีภาวะ Angioedema ร่วมด้วย ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาจต้องมีการให้ยา epinephrine 1:1000

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา ป้องกัน

คำถามเกี่ยวกับโรคลมพิษ

1.ความเครียดทำให้เป็นลมพิษได้ไหม?

จากการศึกษางานวิจัยหลายชิ้น พบว่าความเครียดทำให้มีการหลั่งของสารเคมีบางชนิด และสารเคมีนั้นๆจะไปกระตุ้นเซลล์ชนิดหนึ่งในร่างกายที่อยู่ในเนื้อเยื่อผิวหนัง และในเนื้อเยื่ออื่นๆ ซึ่งเรียกว่าเซลล์มาสต์ (Mast cell) ทำให้เซลล์นี้แตกตัว หลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ออกมา ซึ่งสารฮิสตามีนเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดผื่นโรคลมพิษ

2.เป็นโรคลมพิษต้องงดอาหารอะไรไหม?

จากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยลมพิษประมาณ 30% มีอาการดีขึ้นได้ เมื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีวัตถุดิบเจือปนประเภทที่แต่งสี กลิ่น รส นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ

3.โรคลมพิษรักษาหายขาดไหม?

จากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคลมพิษจำนวนมาก มักเป็นลมพิษเป็นๆหายๆต่อเนื่องได้นานถึง 1-5 ปี บางการศึกษารายงานว่าผู้ป่วยประมาณ 50% หายจากลมพิษหลังจาก 3 เดือน และ 80% หายหลังจาก 1 ปี อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยประมาณ 11% หายหลังเป็นลมพิษนานถึง 5 ปี ส่วนโรคลมพิษที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางภูมิคุ้มกัน มักจะเป็นต่อเนื่องนานกว่าโรคลมพิษเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ

4.โรคลมพิษ เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

โรคลมพิษควรไปพบแพทย์เมื่อ

  • มีอาการผื่นลมพิษรุนแรง หรือคันมาก อาการไม่หาย หรือไม่ดีขึ้น เมื่อดูแลตนเองในเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว
  • มีอาการบวมตามเนื้อตัวมาก หรือมีอาการปวดตามผื่นลมพิษ
  • มีผื่นลมพิษขึ้น นานกว่า 1-2 วัน
  • มีอาการไข้ร่วมด้วยกับผื่นลมพิษ
  • เมื่อไม่มั่นใจในการวินิจฉัย หรือการรักษาโรค

ควรรีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่อ

  • มีผื่นร่วมกับอาการบวมบริเวณลำคอจนหายใจติดขัด
  • รู้สึกหน้ามืด เป็นลม หมดสติ

5.โรคลมพิษป้องกันได้อย่างไร

วิธีการป้องกันลมพิษ หลักสำคัญ คือ

  • หลีกเลี่ยงสารต่างๆที่แพ้ โดยเฉพาะสารที่รู้ หรือสงสัยว่าเป็นสาเหตุของลมพิษ
  • สังเกตตนเองเสมอในเรื่องต่างๆ เพื่อหาสิ่ง หรือสารที่อาจกระตุ้นให้เกิดลมพิษ
  • ระมัดระวังการกินยาต่างๆ เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด เพราะอาจเป็นสาเหตุของลมพิษได้
  • ควรแจ้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่แผนกเอกซเรย์ (การตรวจทางเอกซเรย์บางชนิด อาจมีการฉีดสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดลมพิษได้)

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา ป้องกัน

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

หมอชิน แพทย์ด้านผิวหนัง

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง

  1. โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา
  2. ตรวจภูมิแพ้อาหาร การตรวจแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง
  3. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
  4. โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดีน่า
  5. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
  6. Food Intolerance Test ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด (Food IgG)
  7. ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
  8. แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร
  9. ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

โรคลมพิษ Urticaria คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา ป้องกัน

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , , , .